วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิชาระเบียบวิจัย

ระดับของข้อมูล
การใส่ตัวเลขก็คือการใส่รหัสเพื่อให้สื่อสารกับโปรแกรมได้ จะรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข ดังนั้นต้องใส่ตัวเลขเช่น ชายให้รหัส1 หญิงให้รหัส เพื่อที่จะสื่อให้ได้เช่นโปรแกรมนับให้เรามีอยู่กี่คน ประเด็น1 กับ 2 ที่ว่านั้น เป็นการแยกประเภทเท่านั้น เขาเรียกข้อมูล นามบัญญัติ(nominal)  1 กับ 2 ไม่มีความหมายเชิงคะแนน  คำนวณไม่ได้ นับได้เท่านั้น บวก ลบ คูณ หารได้ ตัวอย่างเช่น ในห้องนี้มีผู้ชายกี่คน นับได้ แล้วมีผู้หญิงกี่คน มีคนผมยาวกี่คน มีคนผมสั้นกี่คน มีคนใส่แว่นกี่คน มีคนไม่ใส่แว่นกี่คน  เป็นเพียงการแยกข้อมูลเฉยๆ ถ้าข้อมูลแบบนี้เรียกข้อมูล นามบัญญัติ
เราสามารถนำข้อมูลนี้ใส่ไปในโปรแกรม 1 กับ 2 ไม่มีความหมายเชิงคะแนน แต่เป็นโค้ด เป็นการแยกให้รู้ว่า 1 หมายถึงชาย กับ 2 หมายถึงหญิง หรือ 1 หมายถึงคนใส่แว่น 2 หมายถึงคนไม่ใส่แว่น  เพื่อการแยกเฉยๆ  ถ้าข้อมูลดีขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง มันจะเป็นข้อมูลเรียกว่าเรียงลำดับ(ordinal) คือข้อมูลที่มี Rang  จัดอันดับได้ว่าในห้องนี้ ใครสอบได้คะแนน ที่1 ที่2 ที่ 3 โดยในห้องใครได้ที่ 1 .2.3 เราจะจัดอันดับได้ว่า ใครได้ที่ 1 เป็นคนเก่งที่สุด  ใครได้ที่ 2 และ 3 ก็เก่งรองลงมา ใครได้ที่โหล่ แสดงว่าเก่งน้อยสุด  เราสามารถ rang หรือ สามารถจัดลำดับ ถึงคนเก่ง หรือ คนอ่อน นอกจากที่เรา rang ได้แล้วนั้น เราจะสามารถจัดกลุ่มได้ด้วย เช่น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนเรียนเก่ง  ลำดับ 1 -5  กลุ่มนี้เรียนอ่อน 1 – 5 ด้านท้าย นี้แปลว่านอกจากจะแบ่งคนเก่ง คนอ่อน คนกลางๆได้แล้ว ยังจะแบ่งได้อีกว่า เช่น คนที่เก่ง ใน 1 ใน หรือ ใครที่สุดท้าย ใครเป็นที่สุดท้าย หรือ รองสุดท้าย นั้นแปลว่าข้อมูลที่อยู่ใน scale นี้ก็จะดีกว่าข้อมูลที่อยู่ใน scale ก่อน นอกจากจะแบ่งกลุ่ม ประเภทได้แล้ว ยังจัดลำดับได้ด้วย เช่น  คำถามว่า คุณเคยได้รับข้อมูลข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไปนี้ หรือไหมให้จัดลำดับ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี อินเตอร์เน็ต  ให้จัดลำดับ 1 2 3 4 5  โดยให้ตัวเลข เคยตอบลักษณะนั้นไหม คนตอบก็จะให้ตัวเลข วิทยุมากที่สุดก็จะให้ที่ 1 ให้เลข 1 ทีวีมาที่ 2 ให้ลำดับ ที่ 2 หนังสือพิมพ์มาที่ 3 ให้เลข 3 เราก็จะรู้ว่าคนรับมาก รับน้อย คืออันดับที่ 1 2 3  นอกจากแบ่งกลุ่มได้แล้ว  เรายังรู้ว่าสื่ออันไหน คนรับมากหรือน้อย จะรู้ด้วยว่าแต่ละสื่อมีคนรับกี่คน และเป็นอันดับที่เท่าไหร่ อีกตัวอย่าง เช่น นักเรียนในห้อง คนที่เป็นอาจารย์ก็จะรู้ว่าในห้องนี้มีคนที่เรียนเก่งกี่คน  คนที่เรียนปานกลางกี่คน คนที่เรียนอ่อนกี่คน แต่ละในกลุ่มเก่งก็จะรู้ว่าใครเป็นอันดับที่ กลุ่มสุดท้ายก็จะรู้ว่าใครเป็นอันดับกลุ่มในกลุ่มคนสุดท้ายใครอันดับสุดท้ายสุด ก็จะดีกว่าข้อมูลประเภทแรกคือ นามบัญญัติ (nominal)
ถ้าข้อมูลเราอัพเกรดขึ้นมา มี สเต็ป คือให้อยู่ใน scale ที่สามารถ จัดมาได้ก็ถามมาเหอะ เพราะข้อมูลพวกนี้ก็สามารถนำมาคำนวณได้ดี แทนที่เราจะถามว่า คุณเคยได้รับข่าวสารประเภทนี้ ให้ Rang มาอันดับ 1 2 3  ก็ถามคำถามใหญ่ คุณได้รับข้อมูลข่าวสาร 1 2 3 มากน้อยเพียงใด แล้วก็จาก scale คำถามที่อาจารย์ถามจากครั้งที่แล้วจะให้เรียงลำดับดูซิว่ามีสื่ออะไรบ้างที่คุณอยากถาม วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต  ในแนวRow แล้วใน คอลัมน์ ก็ให้ใส่ มาก มากที่สุด ปานกลาง  น้อย น้อยที่สุด  เพื่อให้มันเกิดเป็น scale ขึ้น ว่า 1 เขารับจากวิทยุมากหรือน้อย เขารับจากโทรทัศน์มากที่สุดหรือน้อยที่สุด  เขารับจากสื่อต่างๆเป็น scale อย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าดีกว่าข้อมูลที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ คือ มันสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ เพราะมันจะมีคะแนนประจำตัว เช่น มากที่สุดจะ ได้ 5  มาก 4 ปานกลาง น้อย คือ 2 น้อยที่สุด คือ คือมีคะแนนประจำตัว เหมือนกับ ได้รู้ว่า  เช่น คนที่เรียนได้ที่ 1 2 3 นั้น เราได้รู้ว่าคนที่สอบได้คะแนน  ถ้า 100 คะแนน คน top ได้กี่คะแนนคน Top ได้ 90 คะแนน รอง top ได้  89  85 80  เราจะรู้ว่าเราจัด 1 แบ่งกลุ่มคนเก่งคนอ่อนได้ จัด rang ได้ ใครเก่งใครอ่อน 3 รู้ด้วยว่าคนที่เก่งที่สุด กับคนที่อ่อนที่สุดคะแนนต่างกันอยู่เท่าไหร่ ตรงนี้คะแนนต่างกันอยู่เท่าไหร่เรารู้ คนนี้ top ได้ 95 คนนี้รอง top ได้ 90 เรารู้คะแนนต่างกันเท่าไหร่ เหมือนตรงนี้ คุณรับสื่อมากที่สุดเราให้คะแนน มากที่สุดจะ ได้ 5  มาก 4  คุณก็รู้ว่าต่างกันอยู่ 1 คะแนน  มากที่สุดต่างกับปานกลาง อยู่ 2 คะแนน  คือเรารู้ความต่างของคะแนนรู้ rang รู้ความต่างของคะแนนในแต่ละ rang  เราก็จะรู้ว่าใครเก่ง อ่อน อันนี้เป็นข้อมูลอยู่ในระดับ อันตรภาค หรือ ระดับช่วง (interval)  สังเกตง่ายๆในแบบสอบถาม มีระดับ ดีกรี ที่สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้  5 4 3 2 1 ทัศนคติเรื่องนี้  มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด  เพื่อให้ข้อมูลสามารถจัดการได้ แทนที่จะตอบว่าเป็นร้อยละเท่าไหร่ เป็นคนนี้  เราสามรถหาค่าเฉลี่ย เนื่องจากเรามีคะแนนประจำตัว ย่อมหาค่าเฉลี่ยได้โดย คะแนนที่เราหาเฉลี่ยได้ เราจะ ranging ได้  ว่าเปิดรับสื่อ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด  สำหรับที่วี มีกี่คนหาค่าเฉลี่ย ในวิทยุ หนังสือพิมพ์  เราก็เอาค่าเฉลี่ยมา ranging ได้ที่ 1 ที่เปิดรับมากที่สุด คืออะไร 3 คืออะไร  ถ้าเราอยากตอบโจทย์ว่า ranging อย่างไรก็ rang ได้โดยค่าเฉลี่ย อยากรู้ว่าคะแนนใครมากกว่ากัน  เราก็จะรู้ดีกรีของมัน มีดีกรี ประจำตัวแล้ว  ตัวอย่างเช่น เวลาประกวดนางงามรู้ว่านางสาวไทย  เป็นสวยที่ 1 รองลงมาสวยที่ 2 คุณไม่รู้ความต่างห่างกันเท่าไหร่ของความสวยไม่มีหน่วยนับ อันนั้นคือข้อมูลระดับ เรียงลำดับ (ordinal) ตัวอย่าง สอบวัดความรู้งานวิจัย คุณ เจริญ ได้ 95 โกวิทย์ ได้ 90 คุณจะรู้ว่าใคร top  คุณเจริญได้ที่ 1 โกวิทย์ ได้ที่ 2 คะแนนห่างกันอยู่  5 คะแนน  ขณะเดี่ยวกัน เพื่อนสอบได้ 0 คะแนนได้ที่สุดท้าย  เป็นคนที่อ่อนที่สุด  ห่างจากคนที่ top เท่าไหร่ เรารู้ เป็น ข้อมูลระดับช่วง (interval scale) ถามว่าคนที่ไม่มาสอบได้คะแนน 0 หรือคนมาสอบเขาไม่มีความรู้นี้เลยหรือเปล่า  ตอบ ว่าไม่ใช่ อาจเป็นว่า มาไม่ทัน ไม่ได้อ่าน ง่วงนอน อ่านมาไม่ตรงกับที่อาจารย์ถามไม่ตรงกับข้อสอบ  หรือว่าตีความที่ครู เขียนไม่เข้าใจ ฯลฯ 0 นั้นเขาเรียกว่า 0 ไม่สมบูรณ์ ในทางสถิติ ซึ่งในทางสถิติหมายความว่าไม่ใช่ 0 แท้  เช่นคะแนนความรู้ ไม่ใช่คะแนน 0 แทน แต่ถ้าคุณชั่งน้ำหนัก น้ำหนักคุณ 60 กิโลกรัม  หรือสสาร ถ้า ได้ 0 แสดงว่าไม่มีน้ำหนัก  60 กิโลกรัม หมายความว่า ไล่มาตั้งแต่ 0 – 60  อุณหภูมิ ส่วนสูง เป็น 0แท้ หรือ 0 จริงๆ
ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio scale0 เป็น 0 แท้ แต่ระดับ อันตรภาค หรือ ระดับช่วง (interval)  ไม่ใช่ 0 แท้ เพราะฉะนั้น ในทางสังคมศาสตร์ เวลาทำแบบทดสอบเพื่อวัด ความรู้เรื่องเกี่ยวพลังงาน  ความรู้เรื่องนั้น เรื่องนี้ที่เราจะถามไปนั้น ของคนตอบไม่ใช่ 0 แท้  ถ้า 0 ในทางวิทยาศาสตร์ เขาชั่งวัดมาจากน้ำหนักของ สสาร  เป็น 0 แท้ เพราะเขาชั่ง ซึ่งข้อมูลระดับ อัตรา  ทางนั้นเราไม่ได้เรียน อาจารย์จึงไม่เน้น เราจะเน้นศึกษากับคน ไม่ใช่สสาร เรื่องทางสังคมศาสตร์ ถามจากคน ความรู้สึกของคน  คะแนนของคนในเรื่องนั้น เรื่องนี้ 0 ไม่ใช่ 0 แทน  เราจะแคร์ แค่ 3 ระดับพอ 
ดังนั้น ในแบบสอบถาม 1 ชุด อาจมี เรื่อง
เพศ  เป็น  nominal scale  คือ นับแยกประเภทได้เท่านั้น  หรือ ว่าคนตอบ เป็นเพศชายกี่คน  เอาเพศไปบวก ลบ คูณ หาร ได้ไหม
อายุ บางคน เราถาม  โดยใช้คำถามปิด  บางคนใช้คำถามเปิด  เช่น ........ปี  ถ้าเป็นคำถามปิด ครูจะตั้งคำถามว่า  ต่ำกว่า 20 ปี  20 -30 ปี 31-40 ปี ...โดย 2 ข้อเป็น scale ต่างกัน
เรื่องอายุเหมือนกัน แต่วิธีการที่คุณตั้งคำถาม ทำให้ระดับของข้อมูลต่างกัน ถ้าถาม อายุ......ปี โดยให้ผู้ตอบลงเลขอายุ ในแบบสอบถาม เป็น scale ระดับไหนอายุเป็น nominal ไหมคุณสามารถรู้ว่า โกวิทย์ อายุเท่าไหร่ อานนท์ อายุเท่าไหร่ ไหม เราrang ได้ไหมใครแก่ ใครเด็ก  หรือ คุณรู้ได้ไหมใครอายุมากที่สุด มาถึงน้อยที่สุด สามารถ rang ได้ คุณสามารถรู้ความต่างอายุ คุณ เจริญ และโกวิทย์ ไหม  ตอบว่า ต้องรู้ซิ เพราะถ้าถาม คนต้องตอบอายุจริงของตนเอง  คุณก็เอาอายุ ทั้งสองคนมาลบกันคุณก็จะได้รู้ความต่างของอายุ  ถ้าอย่างนี้เป็นข้อมูลระดับไหนตอบ เป็นข้อมูล interval เลย
แต่ถ้าถามอายุให้ตอบเป็นคำถามปิด ต่ำกว่า 20 ปี  20 -30 ปี 31-40 ปี คำตอบข้อนี้ก็จะเป็นข้อมูล nominal  ที่สามารถ rang ได้ ลงรหัส รู้ความห่างของอายุไหม? ตอบว่า ไม่รู้ เพราะเราไม่รู้อายุ เราบอกลบไม่ได้ แต่คุณบอกได้อยู่ใน กลุ่มเดียวกัน ดังนั้นข้อมูลระดับนี้เป็นข้อมูลระดับ ordinal scale (เรียงลำดับ)
ดังนั้นคำถามเดียวกัน คำถามคนละแบบ ให้ระดับข้อมูลที่ต่างกัน อาจารย์ให้ข้อมูลตรงนี้ในระดับสถิติ เพื่อให้รู้ว่า เราจะเลือกข้อมูลระดับแบบไหน เหมือนกับว่าเราไปบ้านไหน เหมือนบ้านนี้เขาไม่ให้ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน คุณก็ต้องไม่ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน บ้านนี้ให้ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน คุณก็ใส่ร้องเท้า เข้าห้องในบ้านทุกห้องได้  เหมือนกับเราจะใช้สถิติไหน เราก็ต้องรู้ว่า เป็นอย่างไร บ้าง...อาจารย์เน้นอยากให้ข้อมูลระดับสูงๆ เพราะเราสามารถใช้สถิติ spss ที่ในการหาข้อมูลได้ ถ้าสถิติ ข้อมูลน้อยก็จะต้องใช้มือในการคำนวณ  ด้งนั้นการจะถามให้ข้อมูลของเราเป็น  nominal หรือ ordinal scale ก็สามารถทำได้ อยากให้ตั้งไว้ก่อน เพราะจะได้นำข้อมูลจัดการได้ง่ายๆ  นั้นคือเหตุผลให้ทำ scale ซะ เพื่อให้อธิบายผล รันโปรแกรมได้ง่าย เลือกใช้ สถิติได้ง่าย  แต่ถามว่าเราสูญเสียสิ่งที่เราอยากรู้ไปไหม เราไม่เสีย เราตอบได้ และตอบได้มากกว่า  และสามารถบอกและมองทะลุ  คำถามที่เราออกแบบได้ว่า ข้อ 1 เป็นอะไร ข้อ 2 เป็นอะไร ข้อ 3 ข้อมูล เป็นระดับอะไร  เวลาที่เราทดสอบสมมุติฐาน เราจะได้รู้ว่า เช่น เราเอาข้อ มาจับข้อ ข้อ 5 เป็น scale อะไร ข้อ 8 เป็นตัวแปรอิสระอะไร เราจะได้ดูว่าเข้าข่าย เข้าบ้านนี้ได้ไหม  ใช้สถิติ นี้ได้ไหม.แค่นี้แหละ
สรุป ข้อมูล มี 3 ประเภท คือ
1.   นามบัญญัติ (nominal)
2.   เรียงลำดับ(ordinal)
3.   อันตรภาค/ ระดับช่วง (interval)