วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555



สรุปวิชานโยบาย

รศ.จุมพล  รอดคำดี    


สรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์

สรุปคำบรรยาย  
http://www.mediafire.com/view/?jr4manaiyy4dk5n

คำบรรยาย  http://www.mediafire.com/view/?jd7ck5aje24lyg2

               การไหลเวียนของข่าวสาร มีผลต่อนโยบายของต่างประเทศมากโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา มีการรับข่าวสารเพียงด้านเดียวจากประเทศที่พัฒนา  ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการสื่อสารที่ไม่เป็นสองทาง (two-way communication) โดยประเทศที่พัฒนาแล้วส่งข่าวไปประเทศที่กำลังพัฒนา ปัญหาคือ การรู้ไม่เท่าสื่อ  สิ่งที่แบ่งแฝงมากับข่าวสาร คือ วัฒนธรรม ตย.วัฒนธรรมภาพยนตร์อเมริกา  ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นฝ่ายตั้งรับ โดยประเทศที่พัฒนาเป็นคนที่กำหนดข่าวสาร โดยสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นการหลั่งไหลของข่าวสาร  สังเกต อีกอย่างคือ เรื่องวัฒนธรรมอเมริกา เช่น แนวความคิดเรื่องเสรีภาพ

               การไหลเวียนของข่าวสารจุดสมดุลอยู่ตรงไหน ?  ปี คศ.1979 ประเทศกำลังพัฒนาเป็นผู้รับสารอย่างเดียว อเมริกาเป็นเจ้าพ่อด้านการสื่อสาร  ประเด็นมีอยู่ว่า ทำไมอเมริกาไม่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยี ประเทศกำลังพัฒนา  แต่อเมริกาช่วยในด้านการศึกษาประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เพื่อให้คนประเทศกำลังพัฒนาใช้เทคโนโลยรของอเมริกาเป็นเท่านั้น

แนวความคิดด้านการสี่อสารพัฒนาการ แนวความคิดของเวอนเนอร์  

- Modern society  คือ พัฒนาประเทศที่ยากจน ให้เข้าสู่ความเจริญ โดยชาวอเมริกามีตัวชี้วัด คือ  ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี กาศึกษา  (หากมองมิติหนึ่ง คือ การต้องการขายสิน บริการ  ฯลฯ  ผลที่ตามมา คือ ทำให้เราอยากเป็นอเมริกา
- ภายหลังถูกมองว่าเป็นการล้างสมอง  จึงหันมาสนใจดูประเทศในเอเชีย เป็นทิศทางในการพัฒนา เช่น ญี่ปุ่น  แต่ก่อน copy สินค้าทุกประเทศ แต่ปัจจุบัน การลอกเลียนแบบ สร้างสินค้าเป็นการเฉพาะของตนเอง และเป็นสินค้าส่งออกขายทั่วโลก

- สิ่งที่มากระทบมาก คือ ด้านวัฒนธรรม เช่น การอยากทันสมัย  ยกตัวอย่างประเทศไทย สมัยหนึ่ง
         o สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  มีนโยบาย “ วัฒนธรรมนำไทย” เช่น ให้คนไทยใส่หมวก ใส่รองเท้า ห้ามเล่นดนตรีไทย (สังเกตในหนังโหมโรง) ผ้าต้องเป็นผ้าจากอมเริกัน หรืออังกฤษ(ผ้าเวสปอย)
          o สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มี นโยบาย “ น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงาน”  เช่น ช่วงนั้นใน กทม.มีการวางท่อน้ำประปา ต่างจังหวัดมีการสร้างเขื่อนภูมิพล และตัดถนนหนทาง นำความเจริญไป

               ดังนั้นข่าวสาร อิทธิพล ต่างๆ ปัญหา ความคิด มาลักษณะนี้ เคยสร้างภาพความเจริญรูปแบบนี้ สิ่งต่างๆเปลี่ยนเพราะ    1. อิทธิพลของการสื่อสาร 2. การหลั่งไหลของวัฒนธรรม  ผลที่ตามมาคือ ทำให้ทุกอย่างเร่งรีบ ทุกอย่างเป็นสังคมในการตัดสินใจทุกอย่างต้องมาจากข่าวสารทั้งสิน ทำให้เป็นที่มาของการกำหนดนโยบายด้านการสื่อสาร

ในปี 1997 Rocklfelter Foundation

“การศีกษาการสื่อสารนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร” หมายความว่า “กระตุ้นให้เขาสื่อสารกันเอง” ยอมรับความแตกต่างแต่ละวัฒนธรรมของสังคม สังคมเจริญได้ด้วยมาตรฐานของตนเอง” ตย. ประทศภูฎาณ 

โดยกลุ่มนี้มองนโยบาย ความต้องการของแต่ละประเทศ โดยดูนโยบายความต้องการ “การที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม” เกิดขึ้นปี 2003  กล่าวคือ “รักษาสมดุล รักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ โดยไม่ถูกการครอบงำการสื่อสารของแต่ละประเทศ”

การสื่อสารของแต่ละประเทศ
1. นโยบายตามเขา
2. นโยบายแอนตี้ตะวันตก(หัวสมัยใหม่)
3. นโยบายของเรา

การสื่อสาร = สังคม  อันไหนเกิดก่อนกัน?   คำตอบคือ แยกกันไม่ได้ “มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่คนเดียวไม่ได้”

นโยบายการสื่อสารสาธารณะ การสื่อสารธุรกิจ การสื่อสารชุมชน และ social media  

1. นโยบายการสื่อสารสาธารณะ คือ การสื่อสารทีรัฐจัดให้ประชาชนโดยทั่วถึง โดยเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐจัดให้ เช่น โทรศัพท์ที่สาธารณะ หรือ สิ่งที่รัฐบอกกล่าวประชาชนโดยรวม หรือ ประโยชน์ ทั้งนี้ต้องไม่เกี่ยวกับธุรกิจ
ทั้งนี้โดยถือว่าเป็นบริการของรัฐและหน้าที่ของรัฐ ในการทำหน้าที่ การสื่อสารสาธารณะเป็นการไม่นึกถึงกำไร หรือขาดทุน  หลักการสำคัญคือ    

o การบริการเสมอภาค เป็นแนวคิดการสื่อสาร  อะไรเกิดประโยชน์กับคนในสังคมส่วนใหญ่
o ข่าวสารข้อมูลของรัฐต้องเปิดเผย  พรบ.ข้อมูลข่าวสาร โดยยึดหลัก “ โปร่งใส ตรวจสอบได้
o ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจเจกชน  รัฐมีหน้าที่ปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล

2. นโยบายการสื่อสารธุรกิจ คือ ต้องจ่ายเงิน ใน เครื่องมือสื่อสาร และการบริการของการสื่อสารนั้น โดยเป็นรู้แบบของการแสวงหากำไร  เช่น การสำรวจการตลาด ต้องการข้อมูล อาทิใน การวางผังสถานี การซื้อข่าวสารผ่านทางออนไลน์
ประโยชน์สูงสุดของประชาชน “อะไร คือประโยชน์สูงสุด”  คือ การไม่เอาเปรียบ  และ ต้องให้ความเป็นธรรม
ไม่เอาเปรียบ คือ สมเหตุสมผล เช่น ลงทุน 1 บาท  กำไร 50 บาท ก็เป็นการค้ากำไรเกินควรแล้ว
การสื่อสารธุรกิจ จึงมี “คุณค่า” กับ “ความพึงพอใจ”

3.นโยบายการสือสารชุมชน คือ การสื่อสารเกี่ยวกับคนในชุมชนนั้น จำกัดวงเฉพาะอาณาเขต / การสื่อสารจากคนข้างใน สู่ภายนอกให้คนอื่นได้รับรู้ โดยมีลักษณะ การสื่อสารง่ายๆ เช่น หอกระจายข่าว   คนในชุมชนรู้จักกันหมด  “โดยชุมชน เพื่อชุมชน

4. นโยบายการสื่อสารผ่าน social media  คือ กลุ่มสังคมแบบหนึ่ง คลื่นชุมชนแบบหนึ่ง บางครั้งบางอย่างก็เป็นการสื่อสารสาธารณะเหมือนกัน เช่น ทวิตเตอร์  บางกรณีก็เป็นกลุ่ม การรวมกลุ่มต่างๆ

“อะไร คือประโยชน์สูงสุด” เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบ?

สรุป โดย 1-2-3-4 กำลังต้องการนโยบาย
  
  

  

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิจารณ์วิชานโยบายทางสื่อสารมวลชนและแนวข้อสอบ



วิจารณ์สรุปภาพรวม
-          เนื้อหา ส่วนใหญ่ค้นมาเยอะ จำเป็นหรือเปล่าไม่รู้ เอาทฤษฎีเอามาใส่ ไม่เกี่ยว บ้างไม่เกี่ยวบ้างบางทฤษฎี
-          บางเรื่องนำมาจับต้นชนปลายไม่ถูก  (เอกสาร ควรส่ง นำเสนอ power point กับ paper)
-          เนื้อหา ส่วนใหญ่พูดให้ตรงกับหัวข้อ หลายครั้งดูหลงทาง
-          วิเคราะห์โจทย์ไม่แตก เพราะเวลาสอบต้องวิเคราะห์แน่นอน (ถ้าเราลอกเขามาไม่เข้าใจ มีปัญหาแน่นอน ในการสอบ เพราะเราไม่เข้าใจทำไมเขาเขียนมาอย่างนี้...สังเกตจากการนำเสนอหน้าชั้น คือ ออกมาอ่าน
-          กลุ่มที่ออกมายืนเป็นไม้ประดับกลับไปอ่านมากๆและหันกลับไปดูสิ่งที่คุณทำคืออะไร  การเขียนนโยบายเราเขียนมาสิ่งเป็นปัญหา เอานโยบายมาแก้ปัญหา สังคมมีความสลับสับซ้อนสูง เราต้องการแก้ปัญหาแต่ละจุดสิ่งที่เราต้องทำคือเราวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ถ้าเราวิเคราะห์ไม่ได้ คือ หยิบที่เขาเขียนมาเป็นนโยบายไปเลย บางเรื่องเขาแก้ไปแล้ว และยังนำมาเสนอซ้ำ การเรียนนโยบายเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมา กำหนดนโยบาย โดยออก มาในรูปกฎหมาย ระเบียบ หรือ กฎ
บางครั้งปัญหามันซ้อนเร้น เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ละเลย หรือมีปัญหามากเกินไป เราต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุด เราต้องแก้ปัญหาที่ตัวคน  ดังนั้นเราต้องหาปัญหาให้ได้ และหาทางออกให้ได้..ปัญหาบางเรื่องแก้ไม่ได้ทันด่วน เพราะมันถูกปลูกฝั่งจากสังคม เช่น ความรุนแรง เราปล่อยความรุ่นแรง ส่วนอื่นของสื่อเข้ามาตอกย้ำ เช่น สื่อมวลชน..มันเข้าไปจิตใจของคน เช่นแก้ไปอาจเดือดร้อน
วิจารณ์เป็นกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 นโยบายการสื่อสารธุรกิจ กับการสื่อสารสาธารณะ
-          ความคิดเรื่องการแบ่งปัน การทำอะไรคาบเกี่ยวกับการผิดกฎหมาย Thai PBS เป็นกฎหมายสื่อของตัวเอง ถ้าทำให้ผิดกฎหมายของตัวเอง วิธีการนี้ต้องเข้ากระบวนการทางนิติบัญญัติ
-          ความคิดเรื่องกองทุนดีแต่ถ้าทำหน้าที่ ที่ขัดกฎหมายต้องระวังให้ดี 
-          การนำสปอนเซอร์มายุ่ง ความเป็นสาธารณะจะได้รับกระทบกระเทือน โดยเฉพาะสปอนเซอร์
-          เรื่องทฤษฎี ไม่เห็นการประยุทธ์ ที่ชัดเจนไม่ชัดเจน
กลุ่มที่ 2 นโยบายการต่อต้านการผูกขาดการให้บริการด้านการสื่อสาร
-          สับสนเรื่องกฎหมาย รธน.
-          ยกมา 7 ทฤษฎี แต่ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาเป็นกรอบแนวความคิด เห็นมาตรการ เช่น เพิ่ม ช่อง ทีวี เป็นความจำเป็นพื้นที่ฐานมาตรฐานการผลิต ต้องให้มีการให้รับช่อฟรีทีวีให้หมด..ประเทศไทยล้ำหน้าประเทศอื่นยังไม่มี ในทางธุรกิจ ต้องคุยกันอีกที
-          การเขียนมาตรการชัดเจน พอสมควร  การอธิบายยังไม่เคลียร์ ดิจิตอล
กลุ่มที่ 3 นโยบายการปกป้อง / ไม่ปกป้องลิขสิทธิ์การเผยแพร่ผลงา
-          ประเด็นปัญหายังไม่ถูกจุด เรื่องลิขสิทธ์ปกป้องผลงาน มันมีการทำแล้ว ประเด็นปัญหายังมีซีดีเถื่อน
-          เห็นด้วยการศึกษา ทฤษฎี KAP  (ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม) ประเด็น ความรู้อย่างไรเปลี่ยนจิตสำนึกของคนไม่ให้เขาซื้อของลิขสิทธิ์ เพราะนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ผิดพลลาด
-          มาตรการทางกฎหมาย ไม่เท่าไหร่  ที่สำคัญเรื่องจิตสำนึก ควรเน้นจุดนี้..
-          ไม่ได้เขียนสาระการใช้เงิน
-          คำถามเรื่อง KPI อะไรเป็นมาตรวัด ความสำเร็จแก้ปัญหา
-          เรื่องลิขสิทธิ์  ทั่วโลก 50 ปี ประเทศไทย  ถ้าคบค้ากับใครลำบาก เพราะ จุดประสงค์ของลิขสิทธิ์ คือ ต้องการนำไปใช้ได้ง่าย ข้อสำคัญการมีแนวโน้ม ยกเลิกลิขสิทธิ์ มากกว่าสงวนลิขสิทธ์ ในยุค โซเชียลมีเดีย
กลุ่ม 4  ไม่มี
กลุ่มที่ 5  นโยบายการสื่อสารที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
-          มีการยกมาตราเยอะ ที่มาตราสำคัญ ในที่สุด ที่การนำเสนอ เขาทำไปหมดแล้ว เช่น media watch สภาการหนังสือพิมพ์ ศูนย์กฎหมายก็มีหมดแล้ว.
-          สิ่งที่เสนอมามองในการควบคุมเยอะเกินไป สื่อเขาจะห่วงเสรีภาพ การจำกัดเสรีภาพของสื่อ เป็นการจำกัดเสรีภาพประชาชน เหมือนไปปิดบังสื่อ การรับรู้ของประชาชน ถ้าไม่รักษาแนวคิดนี้ จะเข้าสู่ยุคมืด
กลุ่มที่ 6 นโยบายการเป็นเจ้าของสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อดาวเทียม
-          จับประเด็น 3 เรื่องด้วยกัน นักการเมือง ออกใบอนุญาต  ฯลฯ  นักการเมืองเป็นเจ้าของ สื่อ มอง 2 ประเภท คือ ทำได้ประชาชนให้เป็นผู้เลือก  2. มองว่าไม่ได้ ต้องมีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม  สื่อมวลชนปัจจุบันกำลังจะไม่ยอมรับกติกา ของจรรยาบรรณสื่อ ท้ายสุด สังคมจะไม่สามารถแยกแยะอะไรถูกอะไรผิด เพราสื่อเป็นเสียเองสังคมจะตอบไม่ได้เลย..อันไหนศีลธรรมจรรยา การเอาตัวรอด ความเห็นส่วนตัวไปวันๆ โดยเฉพาะ คนเรียนด้านสื่อ ต้องยึดมั่นการถ่วงดุล ความถูกความผิด..ตย.ในอังกฤษเชียร์การเมือง แต่ในด้านข่าวเขาไม่เข้าข้างฝ่ายใดแต่เสนออย่างตรงไปตรงมาในข่าว  แต่บทวิจารณ์ในฉบับอาจมีบ้าง / ปัญหาใหญ่ของสื่อไทย คณะกรรมการปฎิรูปสื่อ ปัญหาที่ตัวเจ้าของสื่อ ที่ไม่ยอมรับกติกา คือเน้นธุรกิจ รายได้ ความเป็นพรรคเป็นพวกเป็นหลัก
-          วิทยุควรมี ใบอนุญาต ปี ต่อปี แต่ประเด็น ไม่เพียงพอ การลงทุนทางด้านสื่อ มันจะออกดอกผล ต้องมีความต่อเนื่อง การลงทุนก็ไม่กล้า ลงทุน เพราะมีความเสี่ยงต่อสัญญา ข้อเท็จจริงภาคธุรกิจ ขอ 5 ปี ทีวี ขอ 10 ปี ปัจจุบันประกาศไปแล้ว
-          บริษัทโฆษณา อบรมเขาทำกันอยู่แล้ว..

กลุ่มที่ 7 นโยบายการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง (ตัวเทคโนโลยี การกำหนดราคาการให้บริการ)
-          พูดถึงเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี เอากระทรวงไอซีที มาพูดหมด อาจารย์เสนอว่า ต้องดูว่าอะไรเป็นประเด็นสำคัญ หรือ หาความเชื่อมโยงจะทำอย่างไร ในเชิงปฏิบัติ นโยบายของกระทรวง มีประเด็นให้โต้แย้งและแก้ไข แล้วรายละเอียดจะแก้ไขปัญหาให้เด่นอย่างไร
-          ตย.ที่ยก เช่น การโฆษณาด้านบริการ การเช็คความเร็ว น่าจะมีการวิเคราะห์ต่อ ให้เชื่อมโยง
-          ประเด็นปัญหา คือ เจตนารมณ์ทำไหม เขียนเรื่องนี้ กฎหมายเหล่านี้ เจตนารมณ์การเขียนแต่ละมาตรากำหนดไว้อย่างไร..
กลุ่มที่8 นโยบายการนำมารวมกัน ให้บริการทั้งการสื่อสารส่วนบุคคล หรือการสื่อสารเฉพาะกิจกับการสื่อสารสาธารณะ
-          ฟังดูเหมือนจะหยิบตัวอย่างมาอธิบาย แนวคิดการนำเสนอดี มองการหลอมรวมสื่อ ตัวอย่าง AF มีปัญหาการให้บริการอย่างไรไม่เป็นธรรม น่าจะเจาะประเด็นนี้

กลุ่มที่ 9 นโยบายการสื่อสารที่ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค
-          นโยบายและการจัดการด้านการสื่อสาร ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค จับประเด็นได้ดี
-          การเลือกทฤษฎีมาอธิบายดี ชัดเจน
-          ประเด็น เวลานำเสนอการวิเคราะห์ปัญหา ถ้าเราจะรณรงค์อะไรสักอย่าง ต้องโฟกัสให้ดีว่าจะให้ความรู้ประชาชนเรื่องอะไร ต้อง โฟกัสให้ชัดเจน  สิ่งเหล่านี้ต้องสร้างจิตสำนึกอะไร  โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกใหม่ ตย.เช่นสวยตามธรรมชาติ พอใจได้ไหม  ตย. อจ.ฟังวิทยุ เป็นโรคจิตอ่อนๆ อย่ายึดติดที่เป็นอยู่ มองจุดด้อยเป็นจุดเด่น เช่น นักบาส วอลเลย์บอล เอาความเตี้ยเป็นประโยชน์  ตย.การรณรงค์ปลูกป่า แต่รณรงค์คนในเมือง (ต้องรู้กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน)
-          การใช้ช่องทาง เช่น โซลเชียลมีเดีย ปลุกระดมความคิดของคนเป็นเรื่องดี น่าสนใจ
 กลุ่มที่ 10 นโยบายการสื่อสารในด้านการครอบงำทางวัฒนธรรม
-          หยิบความรุนแรงมาพูด แต่ตีโจทย์ไม่ชัด มีกฎหมาย มีใครต่อใครพูดเยอะ ทำไหมถึงมีความรุนแรง ต้องหาคำตอบให้ได้ ต้องให้ จุดเปลี่ยนในความคิดตัวนี้ให้ได้ โดยปกติสันดานมนุษย์ ชอบดูความรุนแรงตามจิตวิทยา ทำอย่างไร ให้ความรุนแรงในสังคม ทำเป็นสิ่งที่ถูก เช่น กีฬา ละคร หนัง ที่เนื้อหาตบตี เป็นต้น สิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ความรนแรงทั้งคู่ ต้องหาทางออก เช่น การเจรจา ต่อรอง การหลีกเลี่ยงความรุนแรงจะหลีกเลี่ยง และทำอย่างไร..ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นการตอกย้ำความรุนแรง  (ตย.สื่อสัมภาษณ์ นักข่าว สื่อไม่ได้ทำให้เกิดทันที แต่บางครั้งมันเกิดการสะสม/  โอกาสนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องอนาคต)

-          สิ่งที่แก้ให้ตรงจุด คือ การเจาะ วิเคราะห์ห์ต่อ เช่น ทำไมเด็กถึงตีกันอยู่ / การรุนแรงไม่ได้เกิดจากสื่ออย่างเดียว แต่เกิดจากสิ่งอื่นด้วย

-          ควรเผยแพร่ มีเดีย Literacy และ ความรู้ด้านสื่อเพิ่มเติ่ม

ข้อสอบ มี 4-5 ข้อ เลือกทำอยู่ 2-3 ข้อ โดยเอาแนวคิดทฤษฎี มาตอบ กำหนดปัญหา วิธีคิด ทฤษฎี มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์
ข้อเสนอแนะ
1.    อ่านที่ตัวเองเสนอดีๆ
2.    อะไรคือปัญหา
3.    การแก้ปัญหาแนวคิดสังคมอย่างไร จุดสูงสุดคืออะไร
4.    และเอกสารที่อาจารย์แจก 4 เรื่องเป็นภาษาอังกฤษ กลับไปอ่านมันจะช่วยเสริม การตอบคำถาม เพราะเป็นเรื่องใหม่และเชื่อมโยงเหตุการณ์ปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิชาระเบียบวิจัย

ระดับของข้อมูล
การใส่ตัวเลขก็คือการใส่รหัสเพื่อให้สื่อสารกับโปรแกรมได้ จะรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข ดังนั้นต้องใส่ตัวเลขเช่น ชายให้รหัส1 หญิงให้รหัส เพื่อที่จะสื่อให้ได้เช่นโปรแกรมนับให้เรามีอยู่กี่คน ประเด็น1 กับ 2 ที่ว่านั้น เป็นการแยกประเภทเท่านั้น เขาเรียกข้อมูล นามบัญญัติ(nominal)  1 กับ 2 ไม่มีความหมายเชิงคะแนน  คำนวณไม่ได้ นับได้เท่านั้น บวก ลบ คูณ หารได้ ตัวอย่างเช่น ในห้องนี้มีผู้ชายกี่คน นับได้ แล้วมีผู้หญิงกี่คน มีคนผมยาวกี่คน มีคนผมสั้นกี่คน มีคนใส่แว่นกี่คน มีคนไม่ใส่แว่นกี่คน  เป็นเพียงการแยกข้อมูลเฉยๆ ถ้าข้อมูลแบบนี้เรียกข้อมูล นามบัญญัติ
เราสามารถนำข้อมูลนี้ใส่ไปในโปรแกรม 1 กับ 2 ไม่มีความหมายเชิงคะแนน แต่เป็นโค้ด เป็นการแยกให้รู้ว่า 1 หมายถึงชาย กับ 2 หมายถึงหญิง หรือ 1 หมายถึงคนใส่แว่น 2 หมายถึงคนไม่ใส่แว่น  เพื่อการแยกเฉยๆ  ถ้าข้อมูลดีขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง มันจะเป็นข้อมูลเรียกว่าเรียงลำดับ(ordinal) คือข้อมูลที่มี Rang  จัดอันดับได้ว่าในห้องนี้ ใครสอบได้คะแนน ที่1 ที่2 ที่ 3 โดยในห้องใครได้ที่ 1 .2.3 เราจะจัดอันดับได้ว่า ใครได้ที่ 1 เป็นคนเก่งที่สุด  ใครได้ที่ 2 และ 3 ก็เก่งรองลงมา ใครได้ที่โหล่ แสดงว่าเก่งน้อยสุด  เราสามารถ rang หรือ สามารถจัดลำดับ ถึงคนเก่ง หรือ คนอ่อน นอกจากที่เรา rang ได้แล้วนั้น เราจะสามารถจัดกลุ่มได้ด้วย เช่น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนเรียนเก่ง  ลำดับ 1 -5  กลุ่มนี้เรียนอ่อน 1 – 5 ด้านท้าย นี้แปลว่านอกจากจะแบ่งคนเก่ง คนอ่อน คนกลางๆได้แล้ว ยังจะแบ่งได้อีกว่า เช่น คนที่เก่ง ใน 1 ใน หรือ ใครที่สุดท้าย ใครเป็นที่สุดท้าย หรือ รองสุดท้าย นั้นแปลว่าข้อมูลที่อยู่ใน scale นี้ก็จะดีกว่าข้อมูลที่อยู่ใน scale ก่อน นอกจากจะแบ่งกลุ่ม ประเภทได้แล้ว ยังจัดลำดับได้ด้วย เช่น  คำถามว่า คุณเคยได้รับข้อมูลข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไปนี้ หรือไหมให้จัดลำดับ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี อินเตอร์เน็ต  ให้จัดลำดับ 1 2 3 4 5  โดยให้ตัวเลข เคยตอบลักษณะนั้นไหม คนตอบก็จะให้ตัวเลข วิทยุมากที่สุดก็จะให้ที่ 1 ให้เลข 1 ทีวีมาที่ 2 ให้ลำดับ ที่ 2 หนังสือพิมพ์มาที่ 3 ให้เลข 3 เราก็จะรู้ว่าคนรับมาก รับน้อย คืออันดับที่ 1 2 3  นอกจากแบ่งกลุ่มได้แล้ว  เรายังรู้ว่าสื่ออันไหน คนรับมากหรือน้อย จะรู้ด้วยว่าแต่ละสื่อมีคนรับกี่คน และเป็นอันดับที่เท่าไหร่ อีกตัวอย่าง เช่น นักเรียนในห้อง คนที่เป็นอาจารย์ก็จะรู้ว่าในห้องนี้มีคนที่เรียนเก่งกี่คน  คนที่เรียนปานกลางกี่คน คนที่เรียนอ่อนกี่คน แต่ละในกลุ่มเก่งก็จะรู้ว่าใครเป็นอันดับที่ กลุ่มสุดท้ายก็จะรู้ว่าใครเป็นอันดับกลุ่มในกลุ่มคนสุดท้ายใครอันดับสุดท้ายสุด ก็จะดีกว่าข้อมูลประเภทแรกคือ นามบัญญัติ (nominal)
ถ้าข้อมูลเราอัพเกรดขึ้นมา มี สเต็ป คือให้อยู่ใน scale ที่สามารถ จัดมาได้ก็ถามมาเหอะ เพราะข้อมูลพวกนี้ก็สามารถนำมาคำนวณได้ดี แทนที่เราจะถามว่า คุณเคยได้รับข่าวสารประเภทนี้ ให้ Rang มาอันดับ 1 2 3  ก็ถามคำถามใหญ่ คุณได้รับข้อมูลข่าวสาร 1 2 3 มากน้อยเพียงใด แล้วก็จาก scale คำถามที่อาจารย์ถามจากครั้งที่แล้วจะให้เรียงลำดับดูซิว่ามีสื่ออะไรบ้างที่คุณอยากถาม วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต  ในแนวRow แล้วใน คอลัมน์ ก็ให้ใส่ มาก มากที่สุด ปานกลาง  น้อย น้อยที่สุด  เพื่อให้มันเกิดเป็น scale ขึ้น ว่า 1 เขารับจากวิทยุมากหรือน้อย เขารับจากโทรทัศน์มากที่สุดหรือน้อยที่สุด  เขารับจากสื่อต่างๆเป็น scale อย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าดีกว่าข้อมูลที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ คือ มันสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ เพราะมันจะมีคะแนนประจำตัว เช่น มากที่สุดจะ ได้ 5  มาก 4 ปานกลาง น้อย คือ 2 น้อยที่สุด คือ คือมีคะแนนประจำตัว เหมือนกับ ได้รู้ว่า  เช่น คนที่เรียนได้ที่ 1 2 3 นั้น เราได้รู้ว่าคนที่สอบได้คะแนน  ถ้า 100 คะแนน คน top ได้กี่คะแนนคน Top ได้ 90 คะแนน รอง top ได้  89  85 80  เราจะรู้ว่าเราจัด 1 แบ่งกลุ่มคนเก่งคนอ่อนได้ จัด rang ได้ ใครเก่งใครอ่อน 3 รู้ด้วยว่าคนที่เก่งที่สุด กับคนที่อ่อนที่สุดคะแนนต่างกันอยู่เท่าไหร่ ตรงนี้คะแนนต่างกันอยู่เท่าไหร่เรารู้ คนนี้ top ได้ 95 คนนี้รอง top ได้ 90 เรารู้คะแนนต่างกันเท่าไหร่ เหมือนตรงนี้ คุณรับสื่อมากที่สุดเราให้คะแนน มากที่สุดจะ ได้ 5  มาก 4  คุณก็รู้ว่าต่างกันอยู่ 1 คะแนน  มากที่สุดต่างกับปานกลาง อยู่ 2 คะแนน  คือเรารู้ความต่างของคะแนนรู้ rang รู้ความต่างของคะแนนในแต่ละ rang  เราก็จะรู้ว่าใครเก่ง อ่อน อันนี้เป็นข้อมูลอยู่ในระดับ อันตรภาค หรือ ระดับช่วง (interval)  สังเกตง่ายๆในแบบสอบถาม มีระดับ ดีกรี ที่สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้  5 4 3 2 1 ทัศนคติเรื่องนี้  มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด  เพื่อให้ข้อมูลสามารถจัดการได้ แทนที่จะตอบว่าเป็นร้อยละเท่าไหร่ เป็นคนนี้  เราสามรถหาค่าเฉลี่ย เนื่องจากเรามีคะแนนประจำตัว ย่อมหาค่าเฉลี่ยได้โดย คะแนนที่เราหาเฉลี่ยได้ เราจะ ranging ได้  ว่าเปิดรับสื่อ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด  สำหรับที่วี มีกี่คนหาค่าเฉลี่ย ในวิทยุ หนังสือพิมพ์  เราก็เอาค่าเฉลี่ยมา ranging ได้ที่ 1 ที่เปิดรับมากที่สุด คืออะไร 3 คืออะไร  ถ้าเราอยากตอบโจทย์ว่า ranging อย่างไรก็ rang ได้โดยค่าเฉลี่ย อยากรู้ว่าคะแนนใครมากกว่ากัน  เราก็จะรู้ดีกรีของมัน มีดีกรี ประจำตัวแล้ว  ตัวอย่างเช่น เวลาประกวดนางงามรู้ว่านางสาวไทย  เป็นสวยที่ 1 รองลงมาสวยที่ 2 คุณไม่รู้ความต่างห่างกันเท่าไหร่ของความสวยไม่มีหน่วยนับ อันนั้นคือข้อมูลระดับ เรียงลำดับ (ordinal) ตัวอย่าง สอบวัดความรู้งานวิจัย คุณ เจริญ ได้ 95 โกวิทย์ ได้ 90 คุณจะรู้ว่าใคร top  คุณเจริญได้ที่ 1 โกวิทย์ ได้ที่ 2 คะแนนห่างกันอยู่  5 คะแนน  ขณะเดี่ยวกัน เพื่อนสอบได้ 0 คะแนนได้ที่สุดท้าย  เป็นคนที่อ่อนที่สุด  ห่างจากคนที่ top เท่าไหร่ เรารู้ เป็น ข้อมูลระดับช่วง (interval scale) ถามว่าคนที่ไม่มาสอบได้คะแนน 0 หรือคนมาสอบเขาไม่มีความรู้นี้เลยหรือเปล่า  ตอบ ว่าไม่ใช่ อาจเป็นว่า มาไม่ทัน ไม่ได้อ่าน ง่วงนอน อ่านมาไม่ตรงกับที่อาจารย์ถามไม่ตรงกับข้อสอบ  หรือว่าตีความที่ครู เขียนไม่เข้าใจ ฯลฯ 0 นั้นเขาเรียกว่า 0 ไม่สมบูรณ์ ในทางสถิติ ซึ่งในทางสถิติหมายความว่าไม่ใช่ 0 แท้  เช่นคะแนนความรู้ ไม่ใช่คะแนน 0 แทน แต่ถ้าคุณชั่งน้ำหนัก น้ำหนักคุณ 60 กิโลกรัม  หรือสสาร ถ้า ได้ 0 แสดงว่าไม่มีน้ำหนัก  60 กิโลกรัม หมายความว่า ไล่มาตั้งแต่ 0 – 60  อุณหภูมิ ส่วนสูง เป็น 0แท้ หรือ 0 จริงๆ
ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio scale0 เป็น 0 แท้ แต่ระดับ อันตรภาค หรือ ระดับช่วง (interval)  ไม่ใช่ 0 แท้ เพราะฉะนั้น ในทางสังคมศาสตร์ เวลาทำแบบทดสอบเพื่อวัด ความรู้เรื่องเกี่ยวพลังงาน  ความรู้เรื่องนั้น เรื่องนี้ที่เราจะถามไปนั้น ของคนตอบไม่ใช่ 0 แท้  ถ้า 0 ในทางวิทยาศาสตร์ เขาชั่งวัดมาจากน้ำหนักของ สสาร  เป็น 0 แท้ เพราะเขาชั่ง ซึ่งข้อมูลระดับ อัตรา  ทางนั้นเราไม่ได้เรียน อาจารย์จึงไม่เน้น เราจะเน้นศึกษากับคน ไม่ใช่สสาร เรื่องทางสังคมศาสตร์ ถามจากคน ความรู้สึกของคน  คะแนนของคนในเรื่องนั้น เรื่องนี้ 0 ไม่ใช่ 0 แทน  เราจะแคร์ แค่ 3 ระดับพอ 
ดังนั้น ในแบบสอบถาม 1 ชุด อาจมี เรื่อง
เพศ  เป็น  nominal scale  คือ นับแยกประเภทได้เท่านั้น  หรือ ว่าคนตอบ เป็นเพศชายกี่คน  เอาเพศไปบวก ลบ คูณ หาร ได้ไหม
อายุ บางคน เราถาม  โดยใช้คำถามปิด  บางคนใช้คำถามเปิด  เช่น ........ปี  ถ้าเป็นคำถามปิด ครูจะตั้งคำถามว่า  ต่ำกว่า 20 ปี  20 -30 ปี 31-40 ปี ...โดย 2 ข้อเป็น scale ต่างกัน
เรื่องอายุเหมือนกัน แต่วิธีการที่คุณตั้งคำถาม ทำให้ระดับของข้อมูลต่างกัน ถ้าถาม อายุ......ปี โดยให้ผู้ตอบลงเลขอายุ ในแบบสอบถาม เป็น scale ระดับไหนอายุเป็น nominal ไหมคุณสามารถรู้ว่า โกวิทย์ อายุเท่าไหร่ อานนท์ อายุเท่าไหร่ ไหม เราrang ได้ไหมใครแก่ ใครเด็ก  หรือ คุณรู้ได้ไหมใครอายุมากที่สุด มาถึงน้อยที่สุด สามารถ rang ได้ คุณสามารถรู้ความต่างอายุ คุณ เจริญ และโกวิทย์ ไหม  ตอบว่า ต้องรู้ซิ เพราะถ้าถาม คนต้องตอบอายุจริงของตนเอง  คุณก็เอาอายุ ทั้งสองคนมาลบกันคุณก็จะได้รู้ความต่างของอายุ  ถ้าอย่างนี้เป็นข้อมูลระดับไหนตอบ เป็นข้อมูล interval เลย
แต่ถ้าถามอายุให้ตอบเป็นคำถามปิด ต่ำกว่า 20 ปี  20 -30 ปี 31-40 ปี คำตอบข้อนี้ก็จะเป็นข้อมูล nominal  ที่สามารถ rang ได้ ลงรหัส รู้ความห่างของอายุไหม? ตอบว่า ไม่รู้ เพราะเราไม่รู้อายุ เราบอกลบไม่ได้ แต่คุณบอกได้อยู่ใน กลุ่มเดียวกัน ดังนั้นข้อมูลระดับนี้เป็นข้อมูลระดับ ordinal scale (เรียงลำดับ)
ดังนั้นคำถามเดียวกัน คำถามคนละแบบ ให้ระดับข้อมูลที่ต่างกัน อาจารย์ให้ข้อมูลตรงนี้ในระดับสถิติ เพื่อให้รู้ว่า เราจะเลือกข้อมูลระดับแบบไหน เหมือนกับว่าเราไปบ้านไหน เหมือนบ้านนี้เขาไม่ให้ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน คุณก็ต้องไม่ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน บ้านนี้ให้ใส่ร้องเท้าเข้าบ้าน คุณก็ใส่ร้องเท้า เข้าห้องในบ้านทุกห้องได้  เหมือนกับเราจะใช้สถิติไหน เราก็ต้องรู้ว่า เป็นอย่างไร บ้าง...อาจารย์เน้นอยากให้ข้อมูลระดับสูงๆ เพราะเราสามารถใช้สถิติ spss ที่ในการหาข้อมูลได้ ถ้าสถิติ ข้อมูลน้อยก็จะต้องใช้มือในการคำนวณ  ด้งนั้นการจะถามให้ข้อมูลของเราเป็น  nominal หรือ ordinal scale ก็สามารถทำได้ อยากให้ตั้งไว้ก่อน เพราะจะได้นำข้อมูลจัดการได้ง่ายๆ  นั้นคือเหตุผลให้ทำ scale ซะ เพื่อให้อธิบายผล รันโปรแกรมได้ง่าย เลือกใช้ สถิติได้ง่าย  แต่ถามว่าเราสูญเสียสิ่งที่เราอยากรู้ไปไหม เราไม่เสีย เราตอบได้ และตอบได้มากกว่า  และสามารถบอกและมองทะลุ  คำถามที่เราออกแบบได้ว่า ข้อ 1 เป็นอะไร ข้อ 2 เป็นอะไร ข้อ 3 ข้อมูล เป็นระดับอะไร  เวลาที่เราทดสอบสมมุติฐาน เราจะได้รู้ว่า เช่น เราเอาข้อ มาจับข้อ ข้อ 5 เป็น scale อะไร ข้อ 8 เป็นตัวแปรอิสระอะไร เราจะได้ดูว่าเข้าข่าย เข้าบ้านนี้ได้ไหม  ใช้สถิติ นี้ได้ไหม.แค่นี้แหละ
สรุป ข้อมูล มี 3 ประเภท คือ
1.   นามบัญญัติ (nominal)
2.   เรียงลำดับ(ordinal)
3.   อันตรภาค/ ระดับช่วง (interval)