วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิจารณ์วิชานโยบายทางสื่อสารมวลชนและแนวข้อสอบ



วิจารณ์สรุปภาพรวม
-          เนื้อหา ส่วนใหญ่ค้นมาเยอะ จำเป็นหรือเปล่าไม่รู้ เอาทฤษฎีเอามาใส่ ไม่เกี่ยว บ้างไม่เกี่ยวบ้างบางทฤษฎี
-          บางเรื่องนำมาจับต้นชนปลายไม่ถูก  (เอกสาร ควรส่ง นำเสนอ power point กับ paper)
-          เนื้อหา ส่วนใหญ่พูดให้ตรงกับหัวข้อ หลายครั้งดูหลงทาง
-          วิเคราะห์โจทย์ไม่แตก เพราะเวลาสอบต้องวิเคราะห์แน่นอน (ถ้าเราลอกเขามาไม่เข้าใจ มีปัญหาแน่นอน ในการสอบ เพราะเราไม่เข้าใจทำไมเขาเขียนมาอย่างนี้...สังเกตจากการนำเสนอหน้าชั้น คือ ออกมาอ่าน
-          กลุ่มที่ออกมายืนเป็นไม้ประดับกลับไปอ่านมากๆและหันกลับไปดูสิ่งที่คุณทำคืออะไร  การเขียนนโยบายเราเขียนมาสิ่งเป็นปัญหา เอานโยบายมาแก้ปัญหา สังคมมีความสลับสับซ้อนสูง เราต้องการแก้ปัญหาแต่ละจุดสิ่งที่เราต้องทำคือเราวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ถ้าเราวิเคราะห์ไม่ได้ คือ หยิบที่เขาเขียนมาเป็นนโยบายไปเลย บางเรื่องเขาแก้ไปแล้ว และยังนำมาเสนอซ้ำ การเรียนนโยบายเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมา กำหนดนโยบาย โดยออก มาในรูปกฎหมาย ระเบียบ หรือ กฎ
บางครั้งปัญหามันซ้อนเร้น เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ละเลย หรือมีปัญหามากเกินไป เราต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุด เราต้องแก้ปัญหาที่ตัวคน  ดังนั้นเราต้องหาปัญหาให้ได้ และหาทางออกให้ได้..ปัญหาบางเรื่องแก้ไม่ได้ทันด่วน เพราะมันถูกปลูกฝั่งจากสังคม เช่น ความรุนแรง เราปล่อยความรุ่นแรง ส่วนอื่นของสื่อเข้ามาตอกย้ำ เช่น สื่อมวลชน..มันเข้าไปจิตใจของคน เช่นแก้ไปอาจเดือดร้อน
วิจารณ์เป็นกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 นโยบายการสื่อสารธุรกิจ กับการสื่อสารสาธารณะ
-          ความคิดเรื่องการแบ่งปัน การทำอะไรคาบเกี่ยวกับการผิดกฎหมาย Thai PBS เป็นกฎหมายสื่อของตัวเอง ถ้าทำให้ผิดกฎหมายของตัวเอง วิธีการนี้ต้องเข้ากระบวนการทางนิติบัญญัติ
-          ความคิดเรื่องกองทุนดีแต่ถ้าทำหน้าที่ ที่ขัดกฎหมายต้องระวังให้ดี 
-          การนำสปอนเซอร์มายุ่ง ความเป็นสาธารณะจะได้รับกระทบกระเทือน โดยเฉพาะสปอนเซอร์
-          เรื่องทฤษฎี ไม่เห็นการประยุทธ์ ที่ชัดเจนไม่ชัดเจน
กลุ่มที่ 2 นโยบายการต่อต้านการผูกขาดการให้บริการด้านการสื่อสาร
-          สับสนเรื่องกฎหมาย รธน.
-          ยกมา 7 ทฤษฎี แต่ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาเป็นกรอบแนวความคิด เห็นมาตรการ เช่น เพิ่ม ช่อง ทีวี เป็นความจำเป็นพื้นที่ฐานมาตรฐานการผลิต ต้องให้มีการให้รับช่อฟรีทีวีให้หมด..ประเทศไทยล้ำหน้าประเทศอื่นยังไม่มี ในทางธุรกิจ ต้องคุยกันอีกที
-          การเขียนมาตรการชัดเจน พอสมควร  การอธิบายยังไม่เคลียร์ ดิจิตอล
กลุ่มที่ 3 นโยบายการปกป้อง / ไม่ปกป้องลิขสิทธิ์การเผยแพร่ผลงา
-          ประเด็นปัญหายังไม่ถูกจุด เรื่องลิขสิทธ์ปกป้องผลงาน มันมีการทำแล้ว ประเด็นปัญหายังมีซีดีเถื่อน
-          เห็นด้วยการศึกษา ทฤษฎี KAP  (ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม) ประเด็น ความรู้อย่างไรเปลี่ยนจิตสำนึกของคนไม่ให้เขาซื้อของลิขสิทธิ์ เพราะนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ผิดพลลาด
-          มาตรการทางกฎหมาย ไม่เท่าไหร่  ที่สำคัญเรื่องจิตสำนึก ควรเน้นจุดนี้..
-          ไม่ได้เขียนสาระการใช้เงิน
-          คำถามเรื่อง KPI อะไรเป็นมาตรวัด ความสำเร็จแก้ปัญหา
-          เรื่องลิขสิทธิ์  ทั่วโลก 50 ปี ประเทศไทย  ถ้าคบค้ากับใครลำบาก เพราะ จุดประสงค์ของลิขสิทธิ์ คือ ต้องการนำไปใช้ได้ง่าย ข้อสำคัญการมีแนวโน้ม ยกเลิกลิขสิทธิ์ มากกว่าสงวนลิขสิทธ์ ในยุค โซเชียลมีเดีย
กลุ่ม 4  ไม่มี
กลุ่มที่ 5  นโยบายการสื่อสารที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
-          มีการยกมาตราเยอะ ที่มาตราสำคัญ ในที่สุด ที่การนำเสนอ เขาทำไปหมดแล้ว เช่น media watch สภาการหนังสือพิมพ์ ศูนย์กฎหมายก็มีหมดแล้ว.
-          สิ่งที่เสนอมามองในการควบคุมเยอะเกินไป สื่อเขาจะห่วงเสรีภาพ การจำกัดเสรีภาพของสื่อ เป็นการจำกัดเสรีภาพประชาชน เหมือนไปปิดบังสื่อ การรับรู้ของประชาชน ถ้าไม่รักษาแนวคิดนี้ จะเข้าสู่ยุคมืด
กลุ่มที่ 6 นโยบายการเป็นเจ้าของสื่อกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่อดาวเทียม
-          จับประเด็น 3 เรื่องด้วยกัน นักการเมือง ออกใบอนุญาต  ฯลฯ  นักการเมืองเป็นเจ้าของ สื่อ มอง 2 ประเภท คือ ทำได้ประชาชนให้เป็นผู้เลือก  2. มองว่าไม่ได้ ต้องมีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม  สื่อมวลชนปัจจุบันกำลังจะไม่ยอมรับกติกา ของจรรยาบรรณสื่อ ท้ายสุด สังคมจะไม่สามารถแยกแยะอะไรถูกอะไรผิด เพราสื่อเป็นเสียเองสังคมจะตอบไม่ได้เลย..อันไหนศีลธรรมจรรยา การเอาตัวรอด ความเห็นส่วนตัวไปวันๆ โดยเฉพาะ คนเรียนด้านสื่อ ต้องยึดมั่นการถ่วงดุล ความถูกความผิด..ตย.ในอังกฤษเชียร์การเมือง แต่ในด้านข่าวเขาไม่เข้าข้างฝ่ายใดแต่เสนออย่างตรงไปตรงมาในข่าว  แต่บทวิจารณ์ในฉบับอาจมีบ้าง / ปัญหาใหญ่ของสื่อไทย คณะกรรมการปฎิรูปสื่อ ปัญหาที่ตัวเจ้าของสื่อ ที่ไม่ยอมรับกติกา คือเน้นธุรกิจ รายได้ ความเป็นพรรคเป็นพวกเป็นหลัก
-          วิทยุควรมี ใบอนุญาต ปี ต่อปี แต่ประเด็น ไม่เพียงพอ การลงทุนทางด้านสื่อ มันจะออกดอกผล ต้องมีความต่อเนื่อง การลงทุนก็ไม่กล้า ลงทุน เพราะมีความเสี่ยงต่อสัญญา ข้อเท็จจริงภาคธุรกิจ ขอ 5 ปี ทีวี ขอ 10 ปี ปัจจุบันประกาศไปแล้ว
-          บริษัทโฆษณา อบรมเขาทำกันอยู่แล้ว..

กลุ่มที่ 7 นโยบายการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง (ตัวเทคโนโลยี การกำหนดราคาการให้บริการ)
-          พูดถึงเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี เอากระทรวงไอซีที มาพูดหมด อาจารย์เสนอว่า ต้องดูว่าอะไรเป็นประเด็นสำคัญ หรือ หาความเชื่อมโยงจะทำอย่างไร ในเชิงปฏิบัติ นโยบายของกระทรวง มีประเด็นให้โต้แย้งและแก้ไข แล้วรายละเอียดจะแก้ไขปัญหาให้เด่นอย่างไร
-          ตย.ที่ยก เช่น การโฆษณาด้านบริการ การเช็คความเร็ว น่าจะมีการวิเคราะห์ต่อ ให้เชื่อมโยง
-          ประเด็นปัญหา คือ เจตนารมณ์ทำไหม เขียนเรื่องนี้ กฎหมายเหล่านี้ เจตนารมณ์การเขียนแต่ละมาตรากำหนดไว้อย่างไร..
กลุ่มที่8 นโยบายการนำมารวมกัน ให้บริการทั้งการสื่อสารส่วนบุคคล หรือการสื่อสารเฉพาะกิจกับการสื่อสารสาธารณะ
-          ฟังดูเหมือนจะหยิบตัวอย่างมาอธิบาย แนวคิดการนำเสนอดี มองการหลอมรวมสื่อ ตัวอย่าง AF มีปัญหาการให้บริการอย่างไรไม่เป็นธรรม น่าจะเจาะประเด็นนี้

กลุ่มที่ 9 นโยบายการสื่อสารที่ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค
-          นโยบายและการจัดการด้านการสื่อสาร ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค จับประเด็นได้ดี
-          การเลือกทฤษฎีมาอธิบายดี ชัดเจน
-          ประเด็น เวลานำเสนอการวิเคราะห์ปัญหา ถ้าเราจะรณรงค์อะไรสักอย่าง ต้องโฟกัสให้ดีว่าจะให้ความรู้ประชาชนเรื่องอะไร ต้อง โฟกัสให้ชัดเจน  สิ่งเหล่านี้ต้องสร้างจิตสำนึกอะไร  โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกใหม่ ตย.เช่นสวยตามธรรมชาติ พอใจได้ไหม  ตย. อจ.ฟังวิทยุ เป็นโรคจิตอ่อนๆ อย่ายึดติดที่เป็นอยู่ มองจุดด้อยเป็นจุดเด่น เช่น นักบาส วอลเลย์บอล เอาความเตี้ยเป็นประโยชน์  ตย.การรณรงค์ปลูกป่า แต่รณรงค์คนในเมือง (ต้องรู้กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน)
-          การใช้ช่องทาง เช่น โซลเชียลมีเดีย ปลุกระดมความคิดของคนเป็นเรื่องดี น่าสนใจ
 กลุ่มที่ 10 นโยบายการสื่อสารในด้านการครอบงำทางวัฒนธรรม
-          หยิบความรุนแรงมาพูด แต่ตีโจทย์ไม่ชัด มีกฎหมาย มีใครต่อใครพูดเยอะ ทำไหมถึงมีความรุนแรง ต้องหาคำตอบให้ได้ ต้องให้ จุดเปลี่ยนในความคิดตัวนี้ให้ได้ โดยปกติสันดานมนุษย์ ชอบดูความรุนแรงตามจิตวิทยา ทำอย่างไร ให้ความรุนแรงในสังคม ทำเป็นสิ่งที่ถูก เช่น กีฬา ละคร หนัง ที่เนื้อหาตบตี เป็นต้น สิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ความรนแรงทั้งคู่ ต้องหาทางออก เช่น การเจรจา ต่อรอง การหลีกเลี่ยงความรุนแรงจะหลีกเลี่ยง และทำอย่างไร..ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นการตอกย้ำความรุนแรง  (ตย.สื่อสัมภาษณ์ นักข่าว สื่อไม่ได้ทำให้เกิดทันที แต่บางครั้งมันเกิดการสะสม/  โอกาสนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องอนาคต)

-          สิ่งที่แก้ให้ตรงจุด คือ การเจาะ วิเคราะห์ห์ต่อ เช่น ทำไมเด็กถึงตีกันอยู่ / การรุนแรงไม่ได้เกิดจากสื่ออย่างเดียว แต่เกิดจากสิ่งอื่นด้วย

-          ควรเผยแพร่ มีเดีย Literacy และ ความรู้ด้านสื่อเพิ่มเติ่ม

ข้อสอบ มี 4-5 ข้อ เลือกทำอยู่ 2-3 ข้อ โดยเอาแนวคิดทฤษฎี มาตอบ กำหนดปัญหา วิธีคิด ทฤษฎี มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์
ข้อเสนอแนะ
1.    อ่านที่ตัวเองเสนอดีๆ
2.    อะไรคือปัญหา
3.    การแก้ปัญหาแนวคิดสังคมอย่างไร จุดสูงสุดคืออะไร
4.    และเอกสารที่อาจารย์แจก 4 เรื่องเป็นภาษาอังกฤษ กลับไปอ่านมันจะช่วยเสริม การตอบคำถาม เพราะเป็นเรื่องใหม่และเชื่อมโยงเหตุการณ์ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น