วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธการสื่อสารในองค์การ (คาบที่ ๓)

สอนโดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียง และสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์



แนวคิดด้านผู้นำ (Leadership)

หัวใจ ทุกอย่างผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น
โจทย์ : ทฤษฎีถูกสร้างมาเมื่อไหร่ ที่ไหน เพื่อใคร
โดยศึกษาบริบทของที่มา >>> เพราะต้องดูสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ สถานการณ์ สังคม วัฒนธรรม เหตุที่เกิดในโลกอดีต โดยทฤษฎีผู้นำถูกสร้างมาจากตะวันตก โดยจะนำทฤษฎีมาปรับใช้ในสังคมไทยต้องดูเป็นบริบทและความเหมาะสมในสังคมไทยด้วย

ความแตกต่างระหว่างการจัดการและภาวะผู้นำ

โดยมีผลทำให้การทำงานนั้นตามวัตถุประสงค์ โดยสองอย่างนี้จะเข้าไปมีบทบาทความรับผิดชอบ และการปฏิบัติ การเป็นผู้นำ มีอิทธิพลด้วย แสดงบทบาทตำแหน่ง/หรือสถานการณ์ต่างๆและแสดงความคิดเห็น หรือวิสัยทัศน์

๑. ผู้นำมีวิสัยทัศน์ คือ มองอะไรที่สะท้อนวิสัยทัศน์มองการไกลว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ตย. ประชาคมอาเซียน ผู้บริหารต้องคุยกันเรื่องการเตรียมตัว ปรับหลักสูตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น
๒. องค์การอยู่ในสังคม โดยผู้นำต้องมองสภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอก ซึ่งอาจหมายถึงอะไรก็ได้ เช่นนอกองค์การ นอกประเทศ ตย. เรื่องการทำการตลาดเปิดห้างสรรพสินค้า ต้องดูลักษณะประชากร เช่น เพศ อายุ อาชีพ การดำเนินชีวิต ฯลฯ
๓. They rach influence constituents
๔. คุณค่า/กิจกรรม เช่นการทำอย่างไรให้คนอยู่ห้างนาน
๕. หน่วยงานองค์การที่มีความรับผิดชอบ >>การลงพื้นที่ของผู้บริหาร ทำให้ข้อมูล(information) และสร้างความสัมพันธ์
๖. ผู้บริหารต้องมีทักษะโน้มน้าวใจ หรือ การเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมและการร่วมตัดสินใจ ทักษะ เทคนิคฯลฯ การสื่อสาร การจัดการการขับเคลื่อนผู้บริหารต้องมี
๗. ผู้บริหารต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นผู้บริหารสิ่งที่ไม่กลัวเลย คือ การเปลี่ยนแปลง ทางตรงกันข้าม ต้องเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงเป็นพลัง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ โดยความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดอะไร บ้าง ? กล่าวคือ อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ความกังวล ทั้งนี้ผู้นำจะต้องแก้ปัญหา โดยการมองเป็นพลังบวก >>>ช่วยการจัดการได้ ตย.เช่น การทำให้ให้เกิดความเชื่อใจ อาจต้องมีการกิจกรรม หรือ การให้รางวัล เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน

*** โดยทั้งหมด ๖ ข้อ เป็นตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่างการจัดการ และผู้บริหาร โดยเราต้องแยกให้ได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร

A working definition form communication perspective

๑. ผู้นำต้องเปิดเกมรุก
๒. ผู้นำต้องทำความเข้าใจ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดการ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าความเข้าใจวัตถุประสงค์ ย่อมเชื่อมต่อความสำเร็จ
๓. สามารถที่จะสร้าง/แจกจ่ายข้อมูล ทั้งที่เป็นวัจนะภาษา หรืออวัจนภาษา เช่น เรื่องธุรกิจ ปัญหาเศรษฐกิจต้องถ่ายทอด ข้อมูลข่าวสาร >>> สร้างความเชื่อมมั่น >>> พฤติกรรมการสื่อสาร(เช่นน้ำเสียง แววตา) >> ช่วยให้ความเชื่อมั่นในการจัดการได้ >> บุคคลิกภาพ+วิธีการสื่อสาร>> ช่องทาง>>พฤติกรรม สีหน้าท่าทาง นอกจากนั้นยังรวมเสื้อผ้าเป็นต้น
๔. การสื่อสารไม่เอยู่นิ่ง ต้องมีการปรับตัว/ การปรับตัว /การเปลี่ยนแปลง >>>นำมาซึ่งความวิตก เราจะจัดการสื่อสารให้เข้าใจที่ดีหรือตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร


พฤติกรรมของผู้นำ(leadership behaveiors)

๑. ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา
๒. ผู้บริหารเวลามีคนสร้างผลงานของสมาชิกองค์การ ถ้าจะให้ผลงานที่ดี เช่นให้การชื่นชม
๓. ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ >> ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าไปคุยด้วยกับผู้ที่อยู่ต่ำกว่า ให้ช่วยในการตัดสินใจ
๔. การมมอบหมายงาน หรือการให้อำนาจ เขาดำเนินงานตัดสินใจ บริหารการจัดการที่ได้รับมอบหมาย
๕. บทบาทต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบความชัดเจน โดยผู้บริหารต้องสร้างความชัดเจน อาจเป็นลายลักษณ์อักษร ตีความอย่างไร กับตำแหน่ง
๖. การให้ข้อมูลข่าวสาร งานต้องทำอย่างไร /ขั้นตอนทำงานอย่างไร
๗. การแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
๘. ผู้บริหารต้องสามารถหา ทรัพยากร เช่นทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่เชื่อมต่อการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงาน
๙. การสร้างการติดต่อหน่วยงานหรือเครือข่ายต่างๆ ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ
๑๐. ผู้บริหารต้องสร้างโอกาส สมาชิกองค์การต้องสื่อสารกัน การสร้างโอการการติดต่อสื่อสาร เช่น ในห้องประชุม หรือตัวต่อตัว
๑๑. การบริหารการจัดการความขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกในองค์การ หรือระหว่างองค์การ
๑๒. การปฏิบัติงานขององค์การ มีประสิทธิภาพการทำงานระดับที่ต่ำ ผู้บริหารจะต้องเข้ามาแนะนำ พูดเชิงสร้างสรรค์ ให้กำลังใจ (กรณีสมาชิกฝ่าฝืนกฎระเบียบ)
๑๓. การที่เราเป็นผู้นำ เราต้องบริหาร เปิดช่องทางการสื่อสารได้ เช่น เปิดห้องประชุมสื่อสาร หรือตัวต่อตัว

พฤติกรรมการสื่อสารการทำงานมีหลายระดับ

กรณีวิกฤติบริษัท ผู้บริหาร ต้อง
๑. ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับสถานการณ์
๒. มองปัญหาและภาพรวมของสถานการณ์ได้
๓. ผู้บริหารทำตัวเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล คือ รู้ช่องทางสื่อ และวิธีการสื่อสาร
๔. ข้อมูลที่จะสื่อสาร ต้องพิจารณาถึงสาระ เช่น ข้อมูลต้องผ่านการกลั่นกรอง เพราะอาจทำให้ไม่เข้าใจ หรือเกิดความวิตกเกิดขึ้นได้
๕. สามารถเจรจาเองได้
๖. สามารถสร้างแรงจูงใจได้ “ คือพูดแล้วทำได้”
๗. ต้องมีความจริงใจ
๘. การเป็นตัวอย่างที่ดี เราสามารถสัมผัสด้วยการเห็น
๙. การใช้ภาษาสื่อสารเข้าใจง่าย

การสื่อสารองค์การ = การสื่อสารระหว่างบุคคล

โดยจะมีความแตกต่างด้วยองค์ประกอบ บริบท ซึ่งจะเกี่ยวกับ SMCR(จะส่งผลต่อตัวสื่อและตัวสาร)
กลยุทธการสื่อสาร โดยมอง - ความต้องการขององค์การ คืออะไร- ความต้องการของตัวเรา โดยมอง autonomy (การตัดสินใจระดับหนึ่ง) creativity (มีส่วนคิดได้ ตัดสิ้นใจได้) socialbility (ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในองค์การ)
โดยปัจจัยที่เอื้อหรือไม่เอื้อจะต้องอธิบายได้.

หลักการเข้าใจ

๑.เข้าใจ concept ที่มาของทฤษฎี และหลักการ
๒. เข้าใจในสถานการณ์
๓. เรียบเรียง

หน้าที่ของของผู้นำ มี ๓ ประการ

๑. ทำหน้าที่ตีความทำความเข้าใจ สถานการณ์ อิทธิพล ที่ส่งผลต่อองค์การ ทำให้เข้าใจร่วมกันง่ายขึ้น สื่อสารในองค์การ
๒. การให้ความรู้ ผู้บริหารต้องลงไปสัมผัส เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพ
๓. ให้การสนับสนุนและปกป้อง ทำให้องค์การขับเคลื่อนไปได้ บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ เช่น การพูดจูงใจ การพูดให้เหตุผล การพูดให้จริยธรรม ซึ่งจะเป็นการพูดเพื่อทัศนะและแรงจูงใจ

ที่มาของทฤษฎี

โดยดูบริบท/สังคม/วัฒนธรรม โดยที่มาของทฤษฎีมาจากตะวันตก
๑. มองว่าบุคคลอยู่ในสถานะ/เป็นส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นมาเป็นผู้นำโดยสถานภาพ เน้นไปผู้นำ ไม่เน้น สภาพที่เกิดมา จะไม่ค่อยเน้นเรื่องการสื่อสาร (The great man theory) ลักษณะ โดยศึกษาคนชั้นสูง ราชวงศ์ การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้ม
๒. ทฤษฏีคุณสมบัติผู้นำ (Trait theory)
- เรื่องความฉลาด การตัดสินใจ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ มีความมุ่งมั่น ความร่วมมือ ต่างๆ ไม่ใช่แต่เห็น บทบาท แบบนี้จะต้อวแสดงออกและนำไปใช้ด้วย
- คือการมองเชิงสร้างสรรค์ อารมณ์ขันมีอารมณ์ที่ถูกต้องได้อย่างเหมาะสม
- มีเทคนิคการสื่อสาร
- ทักษะการสื่อสาร –ทักษะการสื่อสารความหมายให้น่าสนใจ/สร้างแรงจูงใจ/ไม่เน้นผู้นำผู้ตาม
๓. สถานการณ์สร้างผู้นำ (situational theory)กล้าตัดสินใจ,เด็ดเดี่ยว เกิดปัญหาการทำงาน ใครที่อยู่ในทีมแก้ปัญหาได้ ก็เหมือนสร้างโอกาสให้ตัวเอง โดยการใช้ประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ สร้างโอกาสให้ตัวเอง หรือในที่ประชุมการแสดงความคิดเห็น
๔. ความเชื่อว่าความเชื่อมั่น/สถานการณ์สร้างผู้นำ (Personal / situational theory) ไม่เน้นผู้ตามมากนัก ในบริบทของผู้นำ
๕. คุณสมบัติของคนไม่ต้องการเงินอย่างเดียว (humanistic theory) มองความต้องการทำงาน/ความต้องการของคนมีความรับผิดชอบไม่จำเป็นต้องการเงิน อยากทำหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จ
๖. พฤติกรรมผู้นำส่งผลต่อผู้ตามในทางกลับกัน (behavioral theory) ในเรื่องการดูแลความเป็นอยู่ การใส่ใจความสามัคคี ชื้อใจของพนักงาน
๗. เน้นการปฎิสัมพันธ์ ผู้นำผู้ตาม หัวหน้า ลูกน้อง เน้นการสื่อสาร ลักษณะแตกต่าง –หัวข้อพูดคุย ,ระดับภาษาที่ใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น