วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวความคิดด้านจริยธรรม

เรียบเรียง จากคำบรรยาย

รศ.มาลี บุญศิริพันธ์

ความหมายของ “จริยธรรม”


๑. เป็นธรรมที่เป็นข้อปฎิบัติ ศีลธรรม (ตามพจนานุกรม)
๒. สำนึกในการเลือกว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ พิจารณาจากการะบวนการตัดสินใจในสิ่งที่มนุษย์แสดงออก
๓. ปรัชญาที่ช่วยให้สื่อมวลชนใช้วิจารณญาณว่าควรทำสิ่งใดในวิชาชีพวารสารศาสตร์...แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ว่าจำทำหรือไม่ จริยธรรมจึงเป็นหลักมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับสื่อมวลชนให้วินิจฉัยว่าควรประพฤติอย่างใด..
๔. เป็นหลักประพฤติและหลักของความคิดจิตใจอันยิ่งใหญ่ที่ครอบคลุมเอาส่วนต่างๆ ของงานหนังสือพิมพ์...เป็นจริยธรรมซึ่งแนบแน่นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคม และเงื่อนไขทางธุรกิจ

เหตุที่ต้องมีจริยธรรม

- ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย (กล่าวคือบุคคล/สื่อมวลชน ใช้เสรีภาพในกรอบที่เหมาะสมตามครรลองประชาธิปไตย หน้าที่ของสื่ออื่นๆ รายงานข่าวสารอย่างรับผิดชอบ ตย.เช่นการใช้ภาษา
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- องค์ประกอบของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
- ความเสมอภาค 3 ส่วน : ประชาชน : รัฐบาล : สื่อมวลชน
o ประชาชนคือ เจ้าของประเทศ
o รัฐบาลในฐานะผู้รับจ้างเข้ามาบริหารประเทศ
o สื่อมวลชนทำหน้าที่สื่อกลางถ่ายทอดข่าวสารระหว่างเจ้าของ กับผู้รับจ้างและหน่วยงานต่างๆในสังคม


จริยธรรม VS กฎหมาย




แนวความคิดด้านจริยธรรม

จุดประสงค์การศึกษา
๑. เข้าใจความสำคัญของ เสรีภาพสื่อ และรากเหง้าแนวคิด “สื่อเสรี”
๒. จริยธรรมสื่อวางบนรากฐานแนวคิดปรัชญาทางสังคมจากอตีต-ปัจจุบัน ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
๓. ตั้งแต่ยุคความรุ่งเรื่องความคิดในสมัยก่อนโรมัน เน้นการเคารพ กติกาตามกฎหมายและการเป็นสังคมเสรี
๔. ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในสังคม อย่างเสมอภาค (ความหลากหลาย / สังคมเข้าใจความแตกต่างกับความขัดแย้ง)
๕. อิทธิพลต่อแนวความคิดการตรวจสอบสังคม ของสื่อ (check and balances)

อริโตเติล

: รัฐบาลที่ดี คือ รัฐบาลที่สามารถสร้างชนชั้นกลางให้ได้มากที่สุดเพื่อลดช่องว่างระหว่างความร่ำรวยกับความยากจนให้เหลือน้อยที่สุด.
: รัฐบาลที่ดีที่สุด คือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องสามารถประสานจัดการ ให้ประชาชนทั้งชนชั้นร่ำรวยและยากจนต้องมีเสรีภาพเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายที่เห็นชอบร่วมกันมากกว่ากฎแห่งบุคคล
ตัวอย่าง กรณี Watergate ระหว่างประธานบดี นิกสัน กับสื่อมวลชน ที่พยายามไว้อำนาจ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แต่สื่อมวลชนก็สามารถอ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญที่พิทักษ์เสรีภาพสื่อมวลชนในการตรวจสอบรัฐบาล จนชนะคดีที่สุด นกสันถูปลดจากตำแหน่ง
ตัวอย่างในประเทศไทย
เรื่องสองมาตรฐาน

แนวความคิดของ John Locke

- ด้วยอิทธิผลทางความคิดของนักคิดรุ่นก่อน,แนวความคิดของ Locke มีอิทธิพลอย่างมากในการวางรากฐานแนวคิดเสรีภาพ
- “กฎธรรมชาติเป็นตัวกำกับวงจรธรรมชาติ ซึ่งกำหนดให้ทุกคนต้องประพฤติอย่างมีเหตุผลและตามกฎนั้น มนุษยชาติเรียนรู้ในการอยู่ด้วยกันด้วยความเคารพกันและกัน อย่างเสรี และเสมอภาค มนุษย์จึงไม่ละเมิด/ทำร้ายชีวิต สุขภาพ อิสรภาพ หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น”
- ในทัศนะ Locke มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพและอิสรภาพตามกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งไม่มีใครสามารถละเมิด ฉกฉวย หรืออ้างความเป็นเจ้าของได้

อิทธิพลของ locke

- ไม่เพียงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางการเมือง แต่โยงถึงแนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในสังคมใหม่ด้วยแสดงให้เห็นคุณค่า
o แห่งความเป็นปัจเจก ทั้งสิทธิตามกฎหมาย และสิทธิความเป็นมนุษย์
o ความเป็นธรรม (Fairness) ในการปฎิบัติและการใช้อำนาจหน้าที่อย่างเป็นธรรม
o การใช้อำนาจรัฐที่ได้ความไว้วางใจ เพื่อประโยชน์ของพลเมืองอย่างแท้จริง
o สิทธิในทรัพย์สินของปัจเจก ต้องได้รับการคุ้มครอง มิให้ถูกเอาเปรียบจากอำนาจรัฐ(บาล) หรืออำนาจเงินส่วนบุคคล
o การตัดสินใจด้วยเหตุผลที่มีฉันทานุมัติในการแสวงหาความจริงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ภายหลัง Adam Smaith เสนอแนวคิด ซึ่งมีส่วนจากอิทธิพลของ Locke เรื่องสิทธิในทรัพย์สินของปัจเจก

John Stuart Mill

- มีมุมมองของอิสรภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องใกล้กับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน
- แนวความคิดของ mill ภายใต้สังคมที่ถูกกดขี่ ปิดกั้น และขาดเสรีภาพ
๑. การปิดกั้นความคิดเห็น แสดงว่าเขาคนนั้นไม่มีข้อบกพร่องใดๆเลย
๒. ความเห็นที่ถูกปิดกั้น อาจมีความจริงบางประการซ่อนอยู่-หรืออาจมีส่วนที่ต้องแสดงให้เห้นความจริงทั้งหมดก็ได้
๓. หากความจริง มิได้ถูกแถลงให้กระจ่าง มันอาจถูกเก็บงำกลายเป็นอคติ
๔. ถ้าสร้างความจริงที่แท้จริงถูกเก็บงำโดยไม่ได้รับการพิสูจน์หรือยังคงเป็นอคติอยู่ มันจะเกิดผลเสียต่อสภาพการชี้นำและประพฤติปฏิบัติได้
เขาเชื่อว่า ทางเดียวที่สังคมสามารถก้าวล่วงอิสรภาพของปัจเจกได้ก็เฉพาะกรณีการละเมิดทำร้ายสิทธิประโยชน์ของผู้อื่น ตามที่กฎหมายกำหนด
จากที่กล่าวมาทั้งหมด รากฐานความคิดจริยธรรมสื่อและประชาชน

สื่อมวลชน: ผู้บอกเล่าความจริง

๑. บนรากฐานของปรัชญาทางสังคม และมรดกวัฒนธรรมแสดงความคิดแห่งอิสรภาพนิยม นักวิชาชีพสื่อมวลชนควรเป็นผู้บอกเล่าความจริงที่มีมนุษยธรรมและเมตตาธรรม (Human Truth Teller)
๒. เอาใจใส่/เคารพในสิทธิของผู้อื่น ทำหน้าที่อย่างเป็นธรรม
๓. พยายามส่งเสริมความยุติธรรมภายใต้กรอบของวิชาชีพที่ไม่ถูกต้อง
๔. ตระหนักว่าอิสรภาพและเสรีภาพปัจเจกจะเป็นไปได้ต่อเมื่อสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้พิทักษ์เสรีภาพแสดงความคิดเห็นอย่างเคร่งครัด.

แนวคิดการเมืองการปกครองมีอิทธิพล ต่อสื่อ

กลุ่มโซเวียต (คอมมิวนิสต์) มองมนุษย์ จำเป็นต้องดูแล ลักษณะสังคมมีคนจำนวนมาก มีแรงงาจำนวนมาก การทำงานน่าจะรวมเป็นพรรค ตย.ประเทศเกาหลีเหนือ

สื่อ ของรัฐนี้ สื่อทำหน้าที่กระบอกเสียงของรัฐ หน้าที่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมอุดมการณ์ของพรรคให้ประเทศอยู่ได้

กลุ่ม อิสรภาพนิยม เสรีภาพ เลี้ยงชีพตนเอง ประชาชนดูแลสังคม วิธีการ คือ กรเลือกตั้งกลั่นกรองบุคคลเข้ามาทำงานแทน
สื่อ เสรีภาพมีอิทธิพลมาก สื่อทำหน้าที่ กรองข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชน
สื่อใช้เสรีภาพมากเกินไป จะละเมิดสิทธิของคนอื่น ถ้าละเลยมีความคิดว่า เสรีภาพแบบไหน อย่างไร ที่จะทำให้สังคมไม่ล่มสลาย จึงเกิดคำว่า เสรีภาพ+ความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างกรอบความรับผิดชอบ

ความรับผิดชอบทางสังคม

สื่อ-จริยธรรม -- คุมได้ยากเพราะไม่ใช่กฎหมาย สำนักคิดต่างๆ จึงคิดว่าความเป็นมืออาชีพของสื่อมวลชน ต้องทำอย่างไร จึงเปิดการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ ที่ ม.โคลัมเบีย

และมีแนวความคิดว่า

- ผู้บริโภค/ประชาชน เป็นผู้ดูแล ตย. กลุ่มแม่บ้านดูรายการโทรทัศน์ ดูแล้วละเมิดสิทธิเสรีภาพ จึงงดสนับสนุนสินค้าบริษัทนั้น
- สภาวิชาชีพ (ดูแลกันเอง) ตย. สร้างธรรมนูญ แนวปฏิบัติของสภากาหนังสือพิมพ์ แนวทางปฏิบัติของสมาชิก
กลุ่มอำนาจนิยม(เผด็จการ)
สื่อจะกล้าๆ กลัวๆ ระมัดระวัง ที่จะแสดงความคิดเห็น กระทบต่ออำนาจฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สื่อระบบนี้หวั่นเกรงกฎหมายที่ออกมาด้วยระบบเผด็จการ ตย.ประเทศไทยจอมพลสฤษ โดยมีการหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์โดยหันมานำเสนอข่าวบันเทิง ไร้สาระ
สรุป แนวคิดการเมืองการปกครองมีอิทธิพล จนเกิดเป็น กรณียกิจทางวิชาชีพ

กรณียกิจทางวิชาชีพ

จากวิวัฒนาการแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ได้ก่อตัวให้นักวิชาชีพสื่อมวลชนในฐานผู้บอกเล่าความจริงของสังคม ต้องผูกพันกับกรณียกิจที่สังคมมอบหมาย(Committed journalism) คือ
- วิธีเฝ้าระวัง ตรวจสอบและกระตือรือร้นในการรายงานสิ่งอยุติธรรม
- ให้เกียรติและเคารพต่ออิสรภาพและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
- ให้ความสำคัญต่อการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเข็มแข็ง
- แสวงหาวิธีการรายงานความจริง ซึ่งมีส่วนสร้างสรรค์ ชุมชนให้จรรโลงอยู่ในสังคมเสรีได้ตลอดไป
สรุปโดยภาพรวม เป้าหมายของสื่อมวลชน เพื่อพิทักษ์ปกป้อง การรับรู้ข่าวสารของประชาชน/เคารพในสิทธิของประชาชน โดยให้ประชาชนมีสิทธิตัดสินใจ/และรับรู้ต้องของข้อมูลข่าวสาร

พัทธกิจของสื่อมวลชน

พันธกิจ( Faction) หมายถึง ภาระหน้าที่/ความรับผิดชอบ
๑. ทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม รับผิดชอบ
๒. สร้างความเข้าไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือในวิชาชีพ
๓. ตอบสนองสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
๔. เป็นแหล่งข่าวสารความรู้ ความเคลื่อนไหวในสังคม
๕. เอื้อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
๖. แสดงความจริงให้ปรากฏ โดยเฉพาะความไม่ชอบมาพากลที่กระทบต่อประโยชน์ประเทศชาติ
๗. ชี้แนะ จุดประกาย เพื่อสร้างสรรค์นำพาสังคมไปในทางที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น