วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลยุทธการแข่งขันทางการตลาด

เอกสารเล่มนี้ สรุปจากคำบรรยาย ผศ.สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์

เรียบเรียงและสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์



สมมติฐานโครงสร้างการแข่งขันทางการตลาด

ผู้นำทางการตลาด ๔๐ ผู้ท้าชิง ๔๐% ผู้ตาม ๒๐ % ผู้ค้ารายย่อย ๑๐ %

กลยุทธ์บริษัทผู้นำทางการตลาด

เป้าหมายหลักของบริษัทผู้นำทางการตลาด คือ ใช้ศักยภาพที่มีเพื่อขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น

๑. ขยายตลาด
๒. การป้องกันส่วนแบ่งการตลาด
๓. การขยายส่วนแบ่งตลาด

๑. กลยุทธ์การขยายตลาด

๑.๑. แสวงหาผู้บริโภคใหม่
- เจาะตลาด คือ การหากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากขึ้น คือ เจาะกลุ่มเก่าให้ได้ และเข้าถึงกลุ่มที่เข้าไม่ถึง
- สร้างตลาด คือ หาตลาดขยายใหม่
- การขยายเขตตลาด เช่น ขยายไป ตจว.

๑.๒. การเสนอแนะวิธีการใช้ใหม่ ตย. มาม่า สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ไป ยำ หรือ ประกอบอาหารอื่นได้อีก
๑.๓. เสนอแนะนำให้ผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การแปรงฟัน แปลงหลังอาหาร คือ การเพิ่มความถี่ในการบริโภคนั้นเอง

๒. กลยุทธ์การป้องกันส่วนแบ่งตลาด(ของผู้นำตลาด)

๒.๑. การป้องกันโดยการตั้งรับ
- เสนอขายหลายๆยี่ห้อ เหตุผล คือ ป้องกันคนเข้ามา
- การขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเดียวกัน
๒.๒. การป้องกันโจมตีด้านข้าง คือ การผลิตสินค้าหลายๆ ขนาด คือ กระจายกลุ่มให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย
๒.๓. การป้องกันการตอบโต้
- การส่งเสริมการตลาดทุกรูปแบบ
๒.๔. การป้องกันการโจมตีด้านหน้า คือ ใช้ความพยายามสร้างความเข้มแข็งทางการตลาดโดยการพัฒนาด้านคุณภาพและความแตกต่างที่ไม่ใช่ราคา เช่น เน้นผลิตภัณฑ์ ,การทำงาน ประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การขยายส่วนแบ่งตลาด คือ “ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยอาจ ทำ ๑ ปี ๖ เดือน ๓ เดือนฯลฯ
- มีความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
- มีมุมมองที่กว้างไกล ทั้งผู้บริหาร และพนักงาน
- การเสนอนวัตกรรมใหม่
- เน้นคุณภาพผลิตภัณฑ์
- การขยายสายผลิตภัณฑ์ คือ มีสินค้ามากขึ้น
- การขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อเดิม
- การขยายตรา/ยี่ห้อ
- ใช้งบประมาณมาก คือ ช่วง ๓ ของวงจรสินค้า
- เน้นการส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพ
- เน้นการแข่งขันที่รุนแรง
- เน้นประสิทธิภาพการผลิต
- สร้างระบบการบริการตรา/ยี่ห้อผลิตภัณฑ์

กลยุทธ์ผู้ท้าชิง ( Market3Challengers Strategy)

กลยุทธ์
๑. การลดราคา (ผู้นำจะไม่ลดราคาเพราะกลัวเสียแบรนด์)
๒. นำเสนอราคาถูกกว่า (แต่คุณภาพเท่ากัน)
๓. เน้นคุณภาพสินค้า
๔. เสนอสินค้าหลายประเภท
๕. เสนอสินค้าใหม่
๖. การปรับปรุงบริการ
๗. ช่องทางจำหน่ายใหม่
๘. การลดต้นทุนการผลิต
๙. การส่งเสริมโดยการโฆษณา


กลยุทธ์บริษัทผู้ตาม ( Market- Follower Strategy)

กลยุทธ์

๑. ผลิตสินค้าปลอมสินค้าผู้นำตลาด คือ ใช้แบรนด์ผู้นำขายได้เลย (ไม่มีมารยาท)
๒. ลอกเลียนแบบกลยุทธ์ผู้นำ
๓. ผลิตสินค้าที่คล้ายกับสินค้าผู้นำตลาด
๔. ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันมีการปรับปรุง/พัฒนา

กลยุทธ์บริษัทผู้ค้ารายย่อย ( Market-nicher Strategy)
กลยุทธ์


๑. เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น โรงพยาบาล ชำนาญเรื่องโรคหัวใจ
๒. เชี่ยวชาญในบางส่วนของกระบวนการผลิต เช่น โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์
๓. เชี่ยวชาญตามขนาดลูกค้า เช่น ธนาคาร
๔. เชี่ยวชาญตามขนาดลูกค้าเฉพาะราย เช่น ร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้า
๕. เชี่ยวชาญเฉพาะเขต เช่น ร้านค้าปลีก ,ชายสี่
๖. เชียงชาญสายผลิตภัณฑ์ เช่น ออกแบบกระเป๋าผู้หญิง
๗. เชียวชาญเฉพาะบางรูปแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อู่ซ่อมรถ รับเฉพาะรถยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง
๘. เชี่ยวชาญผลิตให้ลูกค้าเฉพาะราย เช่น งานทำตามออเดอร์
๙. เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ทำสินค้า ตลาดราคาแพง หรือ ช่างไฟ ช่างยนต์ ช่างปูน
๑๐. เชี่ยวชาญเฉพาะบางช่องทางจำหน่าย เช่น ชูปเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์สโตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น