วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

การมีส่วนร่วมการพัฒนาชุมชน สามชุก

เรียบเรียงจากบรรยาย ป้าแหว๋ว ตลาดสามชุก

โดยอาณาจักรโกวิทย์

รากของปัญหาที่ต้องการการมีส่วนร่วม

๑. ปัญหาเศรษฐกิจปี ๔๐
๒. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยที่จะสร้างอาคารพานิชย์ใหม่ (คือคิดว่าจะขายของดีขึ้น)

จุดขัดแย้ง : ทำให้เกิดความเห็นสองฝ่ายอีกฝ่ายคืออยากอนุรักษ์ และอีกฝ่ายอยากสร้างอาคารใหม่.

จุดเปลี่ยน : การเข้าร่วมปฎิบัติการเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไทย

จุดร่วม (เป้าหมาย) : มุ่งทำความดีให้แผ่นดินเกิด

กระบวนการมีส่วนร่วมและโน้มน้าวใจ

สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้


๑. สร้างกิจกรรม (รวมพล)

a. กิจกรรมงานอร่อยดีที่สามชุก (ใช้พื้นที่อำเภอ/ตลาด/วัด)
ผลที่ตามมา คือ
- กระตุ้นเศรษฐกิจ
- กระตุ้นคำถามและการจัดการร่วมกัน
- กระตุ้นการอยากมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วม (เข้าใจรากเหง้าของตนเอง และพื้นที่ส่วนรวมประโยชน์รวมกันตลาด)

b. การสืบทอดประเพณี/วัฒนธรรม คือการให้รู้จักรากเหง้าของตนเอง จากนิราศสุพรรณ

๒. กระบวนการสื่อสาร

a. ประชาสัมพันธ์ปากเปล่าที่บึง ฉวาก ตอนยังไม่มีชื่อเสียงของตลาด
b. การใช้แผ่นผับ
c. เสียงตามสาย(ในตลาด)
d. คูปอง ------ กลยุทธกระจายรายได้

๓. กิจกรรมการมีส่วนร่วม

“กิจกรรม +รวมคน+รวมใจ”

- กิจกรรม เช่น เต้นอารบิก ทำให้พูดคุยกัน
- รวมคน เช่น มั่นประชุม* /เสียงตามสาย ขอความร่วมมือ
- รวมใจ คือ ช่วยกันหาเงินบริจาคเป็นกองกลาง และบริการชุมชน
* มั่นประชุม กระบวนการประชุมมีดังนี้
- ประชุมแกนนำก่อน
- ชวนคนอื่นเข้าร่วม

“ คุณสมบัติ” “เราชื่นชมเขา ยิ้มแย้ม แจ่มใจ”

“จูงใจ” “ใจซื่อ มือสะอาด อดทน ให้อภัย”

“ มือเอื้อม ปากอ้า หน้ายิ้ม”


- ประชุมร้านค้าเดือนละครั้ง
- การสร้างกำลังใจกับคนที่ดูแลความปลอดภัย เช่นตำรวจ ให้เบี้ยเลี้ยง
- การมั่นดึงโรงเรียน เข้ามาเรียนรู้



๔. เรื่องพัฒนาองค์ความรู้ โดยมูลนิธิชุมชนไทย

a. ชวนคุย ชวนทำงาน (ให้ตระหนักการมีส่วนร่วม)
b. ได้เรียนรู้การทำงาน ทักษะการประชุม
c. มีนักวิชาการ และอาจารย์มหาวิทยาลัยคอยให้คำปรึกษา
d. มีแหล่งเรียนรู้บ้านขุนจำนง เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน
e. ได้แลกเปลี่ยน ดูงาน ทำให้เกิดพัฒนาองค์ความรู้เสมอ


กรอบแนวความคิดขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของสามชุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น