สอนโดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียง และสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์
แนวคิดด้านผู้นำ (Leadership)
หัวใจ ทุกอย่างผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น
โจทย์ : ทฤษฎีถูกสร้างมาเมื่อไหร่ ที่ไหน เพื่อใคร
โดยศึกษาบริบทของที่มา >>> เพราะต้องดูสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ สถานการณ์ สังคม วัฒนธรรม เหตุที่เกิดในโลกอดีต โดยทฤษฎีผู้นำถูกสร้างมาจากตะวันตก โดยจะนำทฤษฎีมาปรับใช้ในสังคมไทยต้องดูเป็นบริบทและความเหมาะสมในสังคมไทยด้วย
ความแตกต่างระหว่างการจัดการและภาวะผู้นำ
โดยมีผลทำให้การทำงานนั้นตามวัตถุประสงค์ โดยสองอย่างนี้จะเข้าไปมีบทบาทความรับผิดชอบ และการปฏิบัติ การเป็นผู้นำ มีอิทธิพลด้วย แสดงบทบาทตำแหน่ง/หรือสถานการณ์ต่างๆและแสดงความคิดเห็น หรือวิสัยทัศน์
๑. ผู้นำมีวิสัยทัศน์ คือ มองอะไรที่สะท้อนวิสัยทัศน์มองการไกลว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ตย. ประชาคมอาเซียน ผู้บริหารต้องคุยกันเรื่องการเตรียมตัว ปรับหลักสูตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น
๒. องค์การอยู่ในสังคม โดยผู้นำต้องมองสภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอก ซึ่งอาจหมายถึงอะไรก็ได้ เช่นนอกองค์การ นอกประเทศ ตย. เรื่องการทำการตลาดเปิดห้างสรรพสินค้า ต้องดูลักษณะประชากร เช่น เพศ อายุ อาชีพ การดำเนินชีวิต ฯลฯ
๓. They rach influence constituents
๔. คุณค่า/กิจกรรม เช่นการทำอย่างไรให้คนอยู่ห้างนาน
๕. หน่วยงานองค์การที่มีความรับผิดชอบ >>การลงพื้นที่ของผู้บริหาร ทำให้ข้อมูล(information) และสร้างความสัมพันธ์
๖. ผู้บริหารต้องมีทักษะโน้มน้าวใจ หรือ การเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมและการร่วมตัดสินใจ ทักษะ เทคนิคฯลฯ การสื่อสาร การจัดการการขับเคลื่อนผู้บริหารต้องมี
๗. ผู้บริหารต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นผู้บริหารสิ่งที่ไม่กลัวเลย คือ การเปลี่ยนแปลง ทางตรงกันข้าม ต้องเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงเป็นพลัง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ โดยความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดอะไร บ้าง ? กล่าวคือ อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ความกังวล ทั้งนี้ผู้นำจะต้องแก้ปัญหา โดยการมองเป็นพลังบวก >>>ช่วยการจัดการได้ ตย.เช่น การทำให้ให้เกิดความเชื่อใจ อาจต้องมีการกิจกรรม หรือ การให้รางวัล เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
*** โดยทั้งหมด ๖ ข้อ เป็นตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่างการจัดการ และผู้บริหาร โดยเราต้องแยกให้ได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร
A working definition form communication perspective
๑. ผู้นำต้องเปิดเกมรุก
๒. ผู้นำต้องทำความเข้าใจ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดการ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าความเข้าใจวัตถุประสงค์ ย่อมเชื่อมต่อความสำเร็จ
๓. สามารถที่จะสร้าง/แจกจ่ายข้อมูล ทั้งที่เป็นวัจนะภาษา หรืออวัจนภาษา เช่น เรื่องธุรกิจ ปัญหาเศรษฐกิจต้องถ่ายทอด ข้อมูลข่าวสาร >>> สร้างความเชื่อมมั่น >>> พฤติกรรมการสื่อสาร(เช่นน้ำเสียง แววตา) >> ช่วยให้ความเชื่อมั่นในการจัดการได้ >> บุคคลิกภาพ+วิธีการสื่อสาร>> ช่องทาง>>พฤติกรรม สีหน้าท่าทาง นอกจากนั้นยังรวมเสื้อผ้าเป็นต้น
๔. การสื่อสารไม่เอยู่นิ่ง ต้องมีการปรับตัว/ การปรับตัว /การเปลี่ยนแปลง >>>นำมาซึ่งความวิตก เราจะจัดการสื่อสารให้เข้าใจที่ดีหรือตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร
พฤติกรรมของผู้นำ(leadership behaveiors)
๑. ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา
๒. ผู้บริหารเวลามีคนสร้างผลงานของสมาชิกองค์การ ถ้าจะให้ผลงานที่ดี เช่นให้การชื่นชม
๓. ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ >> ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าไปคุยด้วยกับผู้ที่อยู่ต่ำกว่า ให้ช่วยในการตัดสินใจ
๔. การมมอบหมายงาน หรือการให้อำนาจ เขาดำเนินงานตัดสินใจ บริหารการจัดการที่ได้รับมอบหมาย
๕. บทบาทต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบความชัดเจน โดยผู้บริหารต้องสร้างความชัดเจน อาจเป็นลายลักษณ์อักษร ตีความอย่างไร กับตำแหน่ง
๖. การให้ข้อมูลข่าวสาร งานต้องทำอย่างไร /ขั้นตอนทำงานอย่างไร
๗. การแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
๘. ผู้บริหารต้องสามารถหา ทรัพยากร เช่นทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่เชื่อมต่อการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงาน
๙. การสร้างการติดต่อหน่วยงานหรือเครือข่ายต่างๆ ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ
๑๐. ผู้บริหารต้องสร้างโอกาส สมาชิกองค์การต้องสื่อสารกัน การสร้างโอการการติดต่อสื่อสาร เช่น ในห้องประชุม หรือตัวต่อตัว
๑๑. การบริหารการจัดการความขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกในองค์การ หรือระหว่างองค์การ
๑๒. การปฏิบัติงานขององค์การ มีประสิทธิภาพการทำงานระดับที่ต่ำ ผู้บริหารจะต้องเข้ามาแนะนำ พูดเชิงสร้างสรรค์ ให้กำลังใจ (กรณีสมาชิกฝ่าฝืนกฎระเบียบ)
๑๓. การที่เราเป็นผู้นำ เราต้องบริหาร เปิดช่องทางการสื่อสารได้ เช่น เปิดห้องประชุมสื่อสาร หรือตัวต่อตัว
พฤติกรรมการสื่อสารการทำงานมีหลายระดับ
กรณีวิกฤติบริษัท ผู้บริหาร ต้อง
๑. ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับสถานการณ์
๒. มองปัญหาและภาพรวมของสถานการณ์ได้
๓. ผู้บริหารทำตัวเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล คือ รู้ช่องทางสื่อ และวิธีการสื่อสาร
๔. ข้อมูลที่จะสื่อสาร ต้องพิจารณาถึงสาระ เช่น ข้อมูลต้องผ่านการกลั่นกรอง เพราะอาจทำให้ไม่เข้าใจ หรือเกิดความวิตกเกิดขึ้นได้
๕. สามารถเจรจาเองได้
๖. สามารถสร้างแรงจูงใจได้ “ คือพูดแล้วทำได้”
๗. ต้องมีความจริงใจ
๘. การเป็นตัวอย่างที่ดี เราสามารถสัมผัสด้วยการเห็น
๙. การใช้ภาษาสื่อสารเข้าใจง่าย
การสื่อสารองค์การ = การสื่อสารระหว่างบุคคล
โดยจะมีความแตกต่างด้วยองค์ประกอบ บริบท ซึ่งจะเกี่ยวกับ SMCR(จะส่งผลต่อตัวสื่อและตัวสาร)
กลยุทธการสื่อสาร โดยมอง - ความต้องการขององค์การ คืออะไร- ความต้องการของตัวเรา โดยมอง autonomy (การตัดสินใจระดับหนึ่ง) creativity (มีส่วนคิดได้ ตัดสิ้นใจได้) socialbility (ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในองค์การ)
โดยปัจจัยที่เอื้อหรือไม่เอื้อจะต้องอธิบายได้.
หลักการเข้าใจ
๑.เข้าใจ concept ที่มาของทฤษฎี และหลักการ
๒. เข้าใจในสถานการณ์
๓. เรียบเรียง
หน้าที่ของของผู้นำ มี ๓ ประการ
๑. ทำหน้าที่ตีความทำความเข้าใจ สถานการณ์ อิทธิพล ที่ส่งผลต่อองค์การ ทำให้เข้าใจร่วมกันง่ายขึ้น สื่อสารในองค์การ
๒. การให้ความรู้ ผู้บริหารต้องลงไปสัมผัส เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพ
๓. ให้การสนับสนุนและปกป้อง ทำให้องค์การขับเคลื่อนไปได้ บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ เช่น การพูดจูงใจ การพูดให้เหตุผล การพูดให้จริยธรรม ซึ่งจะเป็นการพูดเพื่อทัศนะและแรงจูงใจ
ที่มาของทฤษฎี
โดยดูบริบท/สังคม/วัฒนธรรม โดยที่มาของทฤษฎีมาจากตะวันตก
๑. มองว่าบุคคลอยู่ในสถานะ/เป็นส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นมาเป็นผู้นำโดยสถานภาพ เน้นไปผู้นำ ไม่เน้น สภาพที่เกิดมา จะไม่ค่อยเน้นเรื่องการสื่อสาร (The great man theory) ลักษณะ โดยศึกษาคนชั้นสูง ราชวงศ์ การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้ม
๒. ทฤษฏีคุณสมบัติผู้นำ (Trait theory)
- เรื่องความฉลาด การตัดสินใจ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ มีความมุ่งมั่น ความร่วมมือ ต่างๆ ไม่ใช่แต่เห็น บทบาท แบบนี้จะต้อวแสดงออกและนำไปใช้ด้วย
- คือการมองเชิงสร้างสรรค์ อารมณ์ขันมีอารมณ์ที่ถูกต้องได้อย่างเหมาะสม
- มีเทคนิคการสื่อสาร
- ทักษะการสื่อสาร –ทักษะการสื่อสารความหมายให้น่าสนใจ/สร้างแรงจูงใจ/ไม่เน้นผู้นำผู้ตาม
๓. สถานการณ์สร้างผู้นำ (situational theory)กล้าตัดสินใจ,เด็ดเดี่ยว เกิดปัญหาการทำงาน ใครที่อยู่ในทีมแก้ปัญหาได้ ก็เหมือนสร้างโอกาสให้ตัวเอง โดยการใช้ประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ สร้างโอกาสให้ตัวเอง หรือในที่ประชุมการแสดงความคิดเห็น
๔. ความเชื่อว่าความเชื่อมั่น/สถานการณ์สร้างผู้นำ (Personal / situational theory) ไม่เน้นผู้ตามมากนัก ในบริบทของผู้นำ
๕. คุณสมบัติของคนไม่ต้องการเงินอย่างเดียว (humanistic theory) มองความต้องการทำงาน/ความต้องการของคนมีความรับผิดชอบไม่จำเป็นต้องการเงิน อยากทำหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จ
๖. พฤติกรรมผู้นำส่งผลต่อผู้ตามในทางกลับกัน (behavioral theory) ในเรื่องการดูแลความเป็นอยู่ การใส่ใจความสามัคคี ชื้อใจของพนักงาน
๗. เน้นการปฎิสัมพันธ์ ผู้นำผู้ตาม หัวหน้า ลูกน้อง เน้นการสื่อสาร ลักษณะแตกต่าง –หัวข้อพูดคุย ,ระดับภาษาที่ใช้
ข้อความที่เขียนบนบล๊อกนี้ ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นจากการเข้าเรียน โดยการถ่ายทอดจากครูที่เป็นผู้สอน การคัดลอก ข้อมูลในบล๊อกนี้ผู้เขียนยินดีเสมอ ถ้าเกิดประโยชน์ และเกิดการแพร่หลายในความรู้ วิชาการ...ข้อมูลอาจมีผิดพลาด หลายประการ โปรดระลึกอยู่เสมอว่าข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลขั้นต้น ที่ยังไม่ได้อ้างอิงตามหลักวิชาการ ผู้เขียนขอขอบคุณ ครูบาอาจารย์ทุกท่านที่อบรมสั่งสอน ผู้เขียนได้อ้างอิงไว้แล้วในงานเขียน...
วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กลยุทธการสื่อสารในองค์การ (อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์) ครั้งที่ ๒ ว้นเสาร์ เช้า-บ่าย
บรรยาย ครั้งที่ ๒ วันที่ เสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๕๔
โดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียงและสรุปคำบรรยายโดย อาณาจักร โกวิทย์
ช่วงเช้า
หลักการทำข้อสอบ
๑. วางหลักทฤษฎี หรือ อ้างอิงหลักการ
๒. อธิบายคำสำคัญแต่ละ keyword
๓. ยกตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ.
ผลของการสื่อสาร
๑. การสื่อสารที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด (วิธีการพูด น้ำเสียง จังหวะ ความเร็วสายตา สีหน้าความรู้สึก ฯลฯ)
๒. ความหมายที่เปิดเผยและอยู่ในสาร พิจารณาจากภาษาท่าทาง
๓. สถานภาพและการติดต่อสื่อสาร กล่าวคือสถานภาพของผู้ส่งสารและผู้รับสารมีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสาร ทัศนคติ การแสดงความคิดเห็น การตีความเอง เช่นการสอนงาน – ความเกรงใจ (ความรุ้สึกเสียไปคืนมาได้ >>การพูดตรงๆ
๔. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารในองค์การ
๔.๑. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
รูปแบบ การให้นโยบาย กฎ สิ่งจูงใจ คำแนะนำ การสั่งการ
๔.๒. การติดต่อจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
รูปแบบ รายงานการปฏิบัติการ การร้องเรียน ขอความช่วยเหลือ เสนอแนะ แสดงความคิดเห็น
หลักการ จริงแล้ว ช่องทาง ๔.๑. และ ๔.๒. เกิดขึ้นพร้อมๆกัน แล้วแต่หัวข้อ จังหวะ โอกาส
๔.๓. การสื่อสารตามแนวนอน
เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ระดับเดียวกันตามสายบังคับบัญชา หรือ ระหว่างบุคคล ๒ คน ที่อยู่ระดับที่แตกต่างกันที่ไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงต่อกัน
๔.๔. การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ
มีหน้าที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์ของสมาชิกองค์การ สื่อสารข้อมูลส่วนบุคคล เล่าข่าวลือ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือ ความรวดเร็ว สิ่งที่ควรระวัง คือ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ข่าลืออาจกระทบภาพลักษณ์บุคคล องค์การ ขึ้นอยู่กับข่าวลือ ลักษณะการติดต่อสื่อสารไม่เป็นทางการเกิดขึ้นบ่อย
ปัญหาการติดต่อสื่อสารที่ทำงานและการแก้ปัญหา
๑. มีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ โดยอาจเกิดจาก ลักษณะของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อาจเกิดขึ้นเช่น การขาดทักษะการติดต่อสื่อสาร ขาดทักษะการฟังที่ดี
ตย. บุคคลที่ระดับภาษาต่างกัน คือ อาจเกิดจากการสื่อสาร หรือ การฟัง การที่เราจะรู้ว่าดี หรือ ไม่ดี ดูได้จาก feedback หรือประสบการณ์
๒. การรับข่าวสารมากเกินไป
อาจขาดทักษะใน
การกลั่นกรองข่าวสาร (เช่นการเมือง)
แหล่งที่มาของข่าว(ความน่าเชื่อถือ)
การจัดลำดับ คือ อะไรควร ไม่ควร โดยดูที่
• กระบวนการคิด
• ประสบการณ์
• Feedback จากคนรอบข้าง
แนวทางการแก้ไข
การเพิ่มศักยภาพในการประมวลข้อมูลข่าวสาร โดยการให้อบรมทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล (การสัมมนา อบรม)
การลดข่าวสาร
ปรับช่องทางการสื่อสาร เพิ่ม/กระจายอำนาจในการตัดสินใจ ให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างมากขึ้น โดยการตัดสินใจ โดยสมาชิกขององค์การทำให้รู้สึกดี มีผลต่อจิตวิทยามากขึ้น.
๓. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนไม่เพียงพอ
ผู้บริหารอาจไม่เข้าใจว่าพนักงานต้องการอะไรบ้างจากการทำงาน อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจและเชื่อใจ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานแล้วจะสร้างความเข้าใจและความเชื่อใจให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ้าเป็นระดับบริหาร อาจดูบุคลิกที่เขาเชื่อใจ ทางกลับกัน เราก็ทำให้เจ้านายเราเชื่อใจด้วย ดูพฤติกรรมและการส่งสารเอา
๔. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างไม่เพียงพอ
ผู้บริหารขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่ตระหนักว่าข่าวสาร ข้อมูลจะช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำถามเราจะสร้างความเชื่อใจ อย่างไร (เจ้านาย)
ต้องวิเคราะห์ เดาใจเจ้านาย >>> ดู feedback
ความกระตือรือร้น
การสั่งงานชิ้นแรก >>>กำลังทดสอบเรา
////////////////////
ช่วงบ่าย ทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม ๔-๕ คน
คำถาม: ให้เลือกปัญหาในการติดต่อสื่อสารในที่ทำงาน จากสมาชิกในกลุ่มมา ๑ เรื่อง และให้สมาชิกในกลุ่มอภิปราบและเสนอแนวทางแก้ไข
วัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ เกิดขึ้นเมื่อมีคนมาแลกเปลี่ยนกัน
- Frame of reference หมายถึง ภาษา ความเชื่อ การตีความ การทำความเข้าใจของประสบการณ์
- เราถูกเบาหลอมถูกปัจจัยทางวัฒนธรรม
- คนเรามีความเชื่อ ค่านิยม >>>ตีกรอบสังคมวัฒนธรรม>>>จะเกิดพฤติกรรมรวมในสังคม ที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
วัฒนธรรมองค์การมี ๒ ด้าน คือ
๑. ระดับตัวบุคคล
๒. ระดับองค์การ
วัฒนธรรมที่สะท้อนออกมา เช่น พิธีกรรม การเฉลิมฉลอง ตำนาน)
เช่นใน Devcom ทุกคนมีความเชื่อ ค่านิยมต่างกัน
วัฒนธรรมองค์การพบแรก > ผู้ก่อตั้ง/ผู้บริหารระดับต่างๆ เรื่องราวจากผู้บริหารมีนัยยะ เช่น การปฐมนิเทศ บอกข้อมูลองค์การ สร้างบันดาลใจ แรงจูงใจ(ผู้บริหารก้าวสู่ระดับบริหารอย่างไร) หรือ ในบริษัทให้คนมาเล่า โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ
ที่มาของวัฒนธรรมองค์การ
๑.องค์การระดับใดก็ตามไม่ได้อยู่ลำพัง อยู่ท่ามกลางบริบทของสังคม ได้มาจากบริบททางสังคม หรือวัฒนธรรม
ตย. การทำงานกับคนไทย ร่วมกับต่างชาติ ก็อยู่บนกรอบวัฒนธรรม กล่าวคือดูบริบทของสังคม ถ้าอยู่เมืองไทยก็ต้องอยู่กรอบแนวคิด
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมส่งผลต่อโครงสร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
๑. ความเกรงใจ
๒. การไม่ชอบเสียหน้า
๓. ความสัมพันธ์ที่ราบรื่น
๔. ให้ความสำคัญเรื่องความเหมาะสม >> ครอบคลุมทั้งการสื่อสารวัจนภาษาและอวัจนะภาษา
๕. เคารพในอำนาจหน้าที่ / อาวุโส
๖. ความมีน้ำใจ
๗. ไม่ชอบอะไรที่แตกแยก
ลักษณะสังคมไทย (Thai societal characteristics )
๑. ความไม่เท่าเทียมกัน
เป็นเรื่องที่มีอยู่ในสังคมไทยยอมรับได้
- สังคมไทยให้อำนาจผู้อาวุโส
- ความเท่าเทียมสะท้อนการสื่อสาร >>ระดับภาษา เช่น ผม เธอ ฉัน ฯลฯ
๒. ค่อนข้างให้ความสำคัญของกลุ่มพวกมากกว่า หรือให้ความสัมพันธ์คนใกล้ชิด
- นำมาซึ่งปัญหาการเปลี่ยนงานย้ายงานสูง
๓. ความสัมพันธ์ วิตก กังวน สมาชิกสังคมนั้น / อะไรไม่ชัดเจน เช่น การไปพบผู้ใหญ่ เราต้องเตรียมตัว ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสาร
- มีลักษณะที่เป็นค่อนข้างมาก
- ความแตกต่างเป็นเรื่องที่เราควรหลีกเลี่ยง
๔. บทบาทผู้ชายผู้หญิง
- สังคมไทย บทบาทชายเป็นผู้นำ เป็นผู้ให้
- พฤติกรรมการสื่อสารส่วนใหญ่ชายเข้มแข็ง หญิง อ่อนโยน
๒.จุดมุ่งหมาย เนื้องานวัตถุประสงค์ >>> วัฒนธรรมองค์การหล่อหลอมพฤติกรรมในองค์การ
๓.ความเชื่อ/วิสัยทัศน์ผู้ก่อตั้ง
โครงสร้างของวัฒนธรรมองค์การ
๑. เพื่อให้สมาชิกรู้ว่าเขาควรมีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น สถาบันการศึกษา วัตถุประสงค์หลักเพื่อการเรียนการสอน >>จะต้องไม่เป็นธุรกิจมากเกินไป หรือเอกชน ก็จะกำหนดเวลา เข้า – ออก งาน ดังนั้นเวลาการทำงานก็จะเข้ากำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต
๒. เพื่อให้ทำตามหน้าที่ของตนเอง โดยเก็บอารมณ์และเรื่องส่วนตัวไว้
๓. ออกกฎต่างๆ ในบริบทต่างๆ เช่น การเซ็นชื่อ เข้าออก
- การใช้วัฒนธรรมบอกทีมงาน เช่น นามบัตร สีเสื้อ
- ใช้วัฒนธรรมบอกให้ทราบว่าเราจะเรียนรู้อย่างไรบ้าง เช่น เรารู้ KFC Mc เราต้องรู้เมนูอาหาร เข้าใจหมายถึงอะไร หรืออาจเป็นศัพท์เฉพาะ
- ใช้วัฒนธรรมแก้ปัญหา >> ใช้ประสบการณ์วัฒนธรรม แก้ปัญหาแนวทางปฏิบัติที่เคยได้เรียนรู้ผ่านปัญหามา
- การใช้วัฒนธรรมเพื่อผลผลิตองค์การ เช่น ตั้งเกณฑ์ทำยอดขาย และวจะได้รางวัลฯลฯ คือเพื่อทำให้เขาทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ศัพท์ทางวัฒนธรรม
๑. The nation of subculture
๒. Communication as a couture creating/ re creating process
รูปแบบการสื่อสารวัฒนธรรมองค์การ
๑. ภาษาที่ใช้ เช่น มหาวิทยาลัย มีคำว่าพี่รหัส
๒. ตำนาน เรื่องเล่า >>เช่น คนเรียนป่าไม้ ย่อมพูดถึง สืบนาคะเสถียร
๓. พิธีกรรม เช่น Mk มีการเต้นของพนักงาน คือการถ่ายทอด มีกิจกรรมร่วมกัน เดินทิศทางเดียวกัน ลดแรงเสียดทาน >>> กฎระเบียบอาจเป็นแรงเสียดทาน จะทำอย่างไรให้เป็นแรงขับเคลื่อน?
ติดต่ออาจารย์ : E-mail : thiti77@gmail.com
นั่งสรุปริมสระข้างอาคารกิจกรรมนักศึกษา เสียงดังหน่อย เหม็นบุหรี่แต่ก็พอทน...เพราะสถานที่มีไฟฟ้าเชื่อมคอม..:)
โดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียงและสรุปคำบรรยายโดย อาณาจักร โกวิทย์
ช่วงเช้า
หลักการทำข้อสอบ
๑. วางหลักทฤษฎี หรือ อ้างอิงหลักการ
๒. อธิบายคำสำคัญแต่ละ keyword
๓. ยกตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ.
ผลของการสื่อสาร
๑. การสื่อสารที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด (วิธีการพูด น้ำเสียง จังหวะ ความเร็วสายตา สีหน้าความรู้สึก ฯลฯ)
๒. ความหมายที่เปิดเผยและอยู่ในสาร พิจารณาจากภาษาท่าทาง
๓. สถานภาพและการติดต่อสื่อสาร กล่าวคือสถานภาพของผู้ส่งสารและผู้รับสารมีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสาร ทัศนคติ การแสดงความคิดเห็น การตีความเอง เช่นการสอนงาน – ความเกรงใจ (ความรุ้สึกเสียไปคืนมาได้ >>การพูดตรงๆ
๔. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารในองค์การ
๔.๑. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
รูปแบบ การให้นโยบาย กฎ สิ่งจูงใจ คำแนะนำ การสั่งการ
๔.๒. การติดต่อจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
รูปแบบ รายงานการปฏิบัติการ การร้องเรียน ขอความช่วยเหลือ เสนอแนะ แสดงความคิดเห็น
หลักการ จริงแล้ว ช่องทาง ๔.๑. และ ๔.๒. เกิดขึ้นพร้อมๆกัน แล้วแต่หัวข้อ จังหวะ โอกาส
๔.๓. การสื่อสารตามแนวนอน
เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ระดับเดียวกันตามสายบังคับบัญชา หรือ ระหว่างบุคคล ๒ คน ที่อยู่ระดับที่แตกต่างกันที่ไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงต่อกัน
๔.๔. การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ
มีหน้าที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์ของสมาชิกองค์การ สื่อสารข้อมูลส่วนบุคคล เล่าข่าวลือ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือ ความรวดเร็ว สิ่งที่ควรระวัง คือ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ข่าลืออาจกระทบภาพลักษณ์บุคคล องค์การ ขึ้นอยู่กับข่าวลือ ลักษณะการติดต่อสื่อสารไม่เป็นทางการเกิดขึ้นบ่อย
ปัญหาการติดต่อสื่อสารที่ทำงานและการแก้ปัญหา
๑. มีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ โดยอาจเกิดจาก ลักษณะของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อาจเกิดขึ้นเช่น การขาดทักษะการติดต่อสื่อสาร ขาดทักษะการฟังที่ดี
ตย. บุคคลที่ระดับภาษาต่างกัน คือ อาจเกิดจากการสื่อสาร หรือ การฟัง การที่เราจะรู้ว่าดี หรือ ไม่ดี ดูได้จาก feedback หรือประสบการณ์
๒. การรับข่าวสารมากเกินไป
อาจขาดทักษะใน
การกลั่นกรองข่าวสาร (เช่นการเมือง)
แหล่งที่มาของข่าว(ความน่าเชื่อถือ)
การจัดลำดับ คือ อะไรควร ไม่ควร โดยดูที่
• กระบวนการคิด
• ประสบการณ์
• Feedback จากคนรอบข้าง
แนวทางการแก้ไข
การเพิ่มศักยภาพในการประมวลข้อมูลข่าวสาร โดยการให้อบรมทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล (การสัมมนา อบรม)
การลดข่าวสาร
ปรับช่องทางการสื่อสาร เพิ่ม/กระจายอำนาจในการตัดสินใจ ให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างมากขึ้น โดยการตัดสินใจ โดยสมาชิกขององค์การทำให้รู้สึกดี มีผลต่อจิตวิทยามากขึ้น.
๓. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนไม่เพียงพอ
ผู้บริหารอาจไม่เข้าใจว่าพนักงานต้องการอะไรบ้างจากการทำงาน อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจและเชื่อใจ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานแล้วจะสร้างความเข้าใจและความเชื่อใจให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ้าเป็นระดับบริหาร อาจดูบุคลิกที่เขาเชื่อใจ ทางกลับกัน เราก็ทำให้เจ้านายเราเชื่อใจด้วย ดูพฤติกรรมและการส่งสารเอา
๔. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างไม่เพียงพอ
ผู้บริหารขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่ตระหนักว่าข่าวสาร ข้อมูลจะช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำถามเราจะสร้างความเชื่อใจ อย่างไร (เจ้านาย)
ต้องวิเคราะห์ เดาใจเจ้านาย >>> ดู feedback
ความกระตือรือร้น
การสั่งงานชิ้นแรก >>>กำลังทดสอบเรา
////////////////////
ช่วงบ่าย ทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม ๔-๕ คน
คำถาม: ให้เลือกปัญหาในการติดต่อสื่อสารในที่ทำงาน จากสมาชิกในกลุ่มมา ๑ เรื่อง และให้สมาชิกในกลุ่มอภิปราบและเสนอแนวทางแก้ไข
วัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ เกิดขึ้นเมื่อมีคนมาแลกเปลี่ยนกัน
- Frame of reference หมายถึง ภาษา ความเชื่อ การตีความ การทำความเข้าใจของประสบการณ์
- เราถูกเบาหลอมถูกปัจจัยทางวัฒนธรรม
- คนเรามีความเชื่อ ค่านิยม >>>ตีกรอบสังคมวัฒนธรรม>>>จะเกิดพฤติกรรมรวมในสังคม ที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
วัฒนธรรมองค์การมี ๒ ด้าน คือ
๑. ระดับตัวบุคคล
๒. ระดับองค์การ
วัฒนธรรมที่สะท้อนออกมา เช่น พิธีกรรม การเฉลิมฉลอง ตำนาน)
เช่นใน Devcom ทุกคนมีความเชื่อ ค่านิยมต่างกัน
วัฒนธรรมองค์การพบแรก > ผู้ก่อตั้ง/ผู้บริหารระดับต่างๆ เรื่องราวจากผู้บริหารมีนัยยะ เช่น การปฐมนิเทศ บอกข้อมูลองค์การ สร้างบันดาลใจ แรงจูงใจ(ผู้บริหารก้าวสู่ระดับบริหารอย่างไร) หรือ ในบริษัทให้คนมาเล่า โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ
ที่มาของวัฒนธรรมองค์การ
๑.องค์การระดับใดก็ตามไม่ได้อยู่ลำพัง อยู่ท่ามกลางบริบทของสังคม ได้มาจากบริบททางสังคม หรือวัฒนธรรม
ตย. การทำงานกับคนไทย ร่วมกับต่างชาติ ก็อยู่บนกรอบวัฒนธรรม กล่าวคือดูบริบทของสังคม ถ้าอยู่เมืองไทยก็ต้องอยู่กรอบแนวคิด
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมส่งผลต่อโครงสร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
๑. ความเกรงใจ
๒. การไม่ชอบเสียหน้า
๓. ความสัมพันธ์ที่ราบรื่น
๔. ให้ความสำคัญเรื่องความเหมาะสม >> ครอบคลุมทั้งการสื่อสารวัจนภาษาและอวัจนะภาษา
๕. เคารพในอำนาจหน้าที่ / อาวุโส
๖. ความมีน้ำใจ
๗. ไม่ชอบอะไรที่แตกแยก
ลักษณะสังคมไทย (Thai societal characteristics )
๑. ความไม่เท่าเทียมกัน
เป็นเรื่องที่มีอยู่ในสังคมไทยยอมรับได้
- สังคมไทยให้อำนาจผู้อาวุโส
- ความเท่าเทียมสะท้อนการสื่อสาร >>ระดับภาษา เช่น ผม เธอ ฉัน ฯลฯ
๒. ค่อนข้างให้ความสำคัญของกลุ่มพวกมากกว่า หรือให้ความสัมพันธ์คนใกล้ชิด
- นำมาซึ่งปัญหาการเปลี่ยนงานย้ายงานสูง
๓. ความสัมพันธ์ วิตก กังวน สมาชิกสังคมนั้น / อะไรไม่ชัดเจน เช่น การไปพบผู้ใหญ่ เราต้องเตรียมตัว ส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสาร
- มีลักษณะที่เป็นค่อนข้างมาก
- ความแตกต่างเป็นเรื่องที่เราควรหลีกเลี่ยง
๔. บทบาทผู้ชายผู้หญิง
- สังคมไทย บทบาทชายเป็นผู้นำ เป็นผู้ให้
- พฤติกรรมการสื่อสารส่วนใหญ่ชายเข้มแข็ง หญิง อ่อนโยน
๒.จุดมุ่งหมาย เนื้องานวัตถุประสงค์ >>> วัฒนธรรมองค์การหล่อหลอมพฤติกรรมในองค์การ
๓.ความเชื่อ/วิสัยทัศน์ผู้ก่อตั้ง
โครงสร้างของวัฒนธรรมองค์การ
๑. เพื่อให้สมาชิกรู้ว่าเขาควรมีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น สถาบันการศึกษา วัตถุประสงค์หลักเพื่อการเรียนการสอน >>จะต้องไม่เป็นธุรกิจมากเกินไป หรือเอกชน ก็จะกำหนดเวลา เข้า – ออก งาน ดังนั้นเวลาการทำงานก็จะเข้ากำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต
๒. เพื่อให้ทำตามหน้าที่ของตนเอง โดยเก็บอารมณ์และเรื่องส่วนตัวไว้
๓. ออกกฎต่างๆ ในบริบทต่างๆ เช่น การเซ็นชื่อ เข้าออก
- การใช้วัฒนธรรมบอกทีมงาน เช่น นามบัตร สีเสื้อ
- ใช้วัฒนธรรมบอกให้ทราบว่าเราจะเรียนรู้อย่างไรบ้าง เช่น เรารู้ KFC Mc เราต้องรู้เมนูอาหาร เข้าใจหมายถึงอะไร หรืออาจเป็นศัพท์เฉพาะ
- ใช้วัฒนธรรมแก้ปัญหา >> ใช้ประสบการณ์วัฒนธรรม แก้ปัญหาแนวทางปฏิบัติที่เคยได้เรียนรู้ผ่านปัญหามา
- การใช้วัฒนธรรมเพื่อผลผลิตองค์การ เช่น ตั้งเกณฑ์ทำยอดขาย และวจะได้รางวัลฯลฯ คือเพื่อทำให้เขาทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ศัพท์ทางวัฒนธรรม
๑. The nation of subculture
๒. Communication as a couture creating/ re creating process
รูปแบบการสื่อสารวัฒนธรรมองค์การ
๑. ภาษาที่ใช้ เช่น มหาวิทยาลัย มีคำว่าพี่รหัส
๒. ตำนาน เรื่องเล่า >>เช่น คนเรียนป่าไม้ ย่อมพูดถึง สืบนาคะเสถียร
๓. พิธีกรรม เช่น Mk มีการเต้นของพนักงาน คือการถ่ายทอด มีกิจกรรมร่วมกัน เดินทิศทางเดียวกัน ลดแรงเสียดทาน >>> กฎระเบียบอาจเป็นแรงเสียดทาน จะทำอย่างไรให้เป็นแรงขับเคลื่อน?
ติดต่ออาจารย์ : E-mail : thiti77@gmail.com
นั่งสรุปริมสระข้างอาคารกิจกรรมนักศึกษา เสียงดังหน่อย เหม็นบุหรี่แต่ก็พอทน...เพราะสถานที่มีไฟฟ้าเชื่อมคอม..:)
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กลยุทธการสื่อสารในองค์การ (อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์) ครั้งที่ ๑ วันศุกร์
กลยุทธการสื่อสารในองค์การ
สอนโดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียง และสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์
“don’t ask me , I just work here”
จากคำถามการสื่อสารการตีความไม่เหมือนกัน? เพราะอะไร?
- อะไรก็ตามตีความจะเข้าใจและตอบคำถามฯลฯ ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสิ้น
- การตีความ > อาจไม่อนุญาตสิ่งที่จะพูดก็ได้/สถานที่พูดได้ หรือ
- เรายังไม่มีข้อมูลจริงๆ หรือเราเป็นพนักงานใหม่ เพิ่งมาทำงานที่นี้
- การเลือกที่จะตอบ คือ strategic ของเรา
ดังนั้น การสื่อสารเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน/ วินาทีต่อไปจะเป็นการสื่อสารในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กัน
คำถาม : เราใช้การสื่อสารการหา/หรือการเปิดรับข้อมูลอย่างไร?
o ความสัมพันธ์
o โครงสร้างของหน่วยงาน/วัฒนธรรมขององค์การมีส่วนสร้างรูปแบบการสื่อสารของเรา
อย่างไร ? กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์การ< วัฒนธรรมต่างกัน>การสื่อสารต่างกัน
ตัวเราจะเป็นผู้ที่กำหนด > เราถูกตีกรอบวัฒนธรรมองค์การ คือเรานำตัวเรา เข้าไปในในองค์การด้วย ขณะเดียวกันเราก็อยู่ในองค์การหล่อหลอมตัวเราด้วย
ดังนั้นเรามีต่างมีเงื่อนไขของตัวเราและองค์การ เราจะมีกลยุทธ จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร ในตัวเราเองและองค์การไปพร้อมๆกันในฐานที่เราเป็นสมาชิกองค์การ เราจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับองค์การ
คำถาม : เราจะทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ได้อย่างไร
- เข้าใจคือ? จากการตีความของการสื่อสาร โดยอาจเป็นภาษา ทั้ง วัจนภาษา และอวัจนภาษา โดยดู บริบทแวดล้อม ประสบการณ์ของเรา
- การทำความเข้าใจของคนเราแตกต่างกันไป เช่น บ้าน บางคนอาจมีประสบการณ์ที่ดีกับบ้าน บ้านอาจเป็นที่มีความสุข ในทางกลับกันถ้าอีกคนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับบ้านอาจเป็นความทุกข์ก็ได้ / การศึกษา / ความสัมพันธ์ คนที่มีความสำคัญกับเราฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างมีอิทธิพลต่อความคิด และความคิดก็เปลี่ยนได้ตาม เวลา อายุ
- การสื่อสารเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนะคติ
- การทีเราทำความเข้าใจ /ความคิด เราเหมือนได้เรียนรู้กันและกัน เช่น การอ่านมาก ฟังมาก เราก็สามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ในทางกลับกันการที่เรามีข้อมูลข่าวสารที่เยอะ อาจเป็นปัญหาได้ถ้าไม่ไตรตรองให้ดี
คำถาม : คนที่มีความเข้าใจในของการสื่อสารในองค์ การมีทักษะในการสื่อสารที่พูดและเขียนมากพอ และรู้ว่าเมื่อไหร่และอย่างไรที่จะนำทักษะดังกล่าวมาใช้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จและมีส่วนผลักดันและส่งเสริมองค์การได้มากกว่า เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
- ปัจจัยที่เราทำความเข้าใจเมื่อไหร่ อย่างไร ที่เราจะพูด คือ
o การสังเกต + การคิดปรับตัว+ ลองทำ >>>ประเมินสิ่งที่สะท้อนกลับมา โดยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราพัฒนาการสื่อสารของเราได้ ว่าจะมีแนวทางการสื่อสารอย่างไร
o การถ่ายทอดสิ่งที่เราสื่อสาร (ในวิชาเจรจาต่อรองเป็นเรื่องที่ต้องเรียนศึกษา) โดยเรียนจากประสบการณ์ที่เรามี + feedback ที่กลับมา >>ทำให้เราปรับตัว+เรียนรู้ >>>พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคนไป
ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจการสื่อสารพัฒนาองค์การมีประโยชน์มาก กล่าวคือก้าวหน้าในสายงาน โดยเป็นสร้างอำนาจให้กับตัวเรา เช่นการมาเรียน Dev com
โดยทุกหน่วยงานการสื่อสารในองค์การมี สองระดับ กล่าว คือ ทุกหน่วยงานจะมีโดยสังเกตเวลาที่เราก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกองค์การเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ตัวเรามีตัวตนของเรา วัตถุประสงค์ ความต้องการส่วนตัว + องค์การ มีวัฒนธรรมองค์การ แบบวัฒนธรรมองค์การ เช่น การเรียนชั้นปริญญาโทการพัฒนาฯ เราก็มีกรอบใหญ่คือวัฒนธรรมกลุ่มเรียน ป.โท ซึ่งแต่ละรุ่นก็ต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนก็ต้องต่างกัน เราต้องการการปรับตัว
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราต้องการ บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือตัวเราและองค์การ หากเราเปลี่ยนหน้าองค์การ / มีข้อจำกัดไหม >>> ก็ต้องดูบริบทๆไป
ผลของวัฒนธรรมองค์การ
- บริบทครอบเราอยู่ คือ กรอบวัฒนธรรม
- การเรียนการสื่อสารต้องปรับอยู่ตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมที่เป็นกรอบใหญ่
สมาชิกมีความต้องการ ๓ ระดับ คือ
๑. Autonomy คือ เราจะต้องมีอำนาจในการควบคุมและตัดสิ้นใจระดับหนึ่ง / การที่เรามีตัวตน มีศักยภาพในการตัดสินใจในการทำงานระดับหนึ่ง ทำให้เรามีตัวตนในองค์การ
ระดับหนึ่ง คือ เราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่างเพราะเราถูกตีกรอบทางวัฒนธรรม กฎ กติกา และข้อจำกัดขององค์การ
๒.creativity คือ การที่เราสร้างอะไรขึ้นมามีความแตกต่าง โดยเรามีส่วนได้คิด และสร้างสรรค์งานใหม่ได้ แต่ อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรม เพราะไม่อย่างนั้นเราจะอยู่ไปวันๆ
๓.sociability คือ ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆในที่ทำงาน/ มองเป็นบวก/เพื่อนร่วมงานที่คุยกันได้
สรุป โดยภายใต้ keyword ๓ คำ ถูกตีกรอบ เงื่อนไข ข้อจำกัด โดยหน่วยงานและวัฒนธรรมองค์การ
พนักงานองค์การ (ความต้องการของตัวเรา)
- ชีวิตข้างนอก + การทำงานความสัมพันธ์
- ต้องการความมั่นคง ในชีวิตและการทำงาน
- ต้องการอนาคต และการเติบโตในสายงาน
ดังนั้นเราต้องรู้ว่า เราเป็นใคร? เราต้องการอะไร ? ว่า
- เราไม่ได้อยู่คนเดียวในสังคม เราโยงใยกับคนอื่นๆ ทุกอย่างเป็นเครือข่ายโยงใยกันหมด เช่น การเป็นครู คุณต้องมีทุน การมีขาว ก็ต้องมีดำ มีเจ้านายต้องมีเจ้านาย ใช้หลักง่ายๆในการเปรียบเทียบ
- ทั้งหมดเราจะสร้างตัวเราและองค์กาหล่อหลอมตัวเรา
การที่เรามีอิสระ ความสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ อยู่
ภายใต้กรอบกติกา ข้อกำหนดของความต้องการของหน่วยงาน
- เราถูกควบคุม(contral) เช่น เรื่องเวลาเข้าออกทำงาน
- ประสานงานกัน( coordinate ) (คือ องค์การมีเครื่องมือ/ อุปกรณ์ที่ต้องทำ โดยองค์การไม่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีโครงสร้างที่ชัดเจน เรามีอิสระระดับหนึ่ง เราถูกกำหนดด้วยข้อบังคับ กติกา การให้อิสระที่จะไป มีช่องว่างให้สมาชิกขยับตัว ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานประสบความสำเร็จ
- บริบทที่ใหญ่ ที่ครอบอยู่ คือ วัฒนธรรม เช่น ในเอเชีย ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กลุ่ม แต่ในชาติตะวันตกให้ความสัมพันธ์ตนเอง
- “สมาชิกองค์การเราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราทำงานด้วยกัน”
โดยเราต้องทางผสมกลมกลืนได้ ไม่ใช่แรงเสียดทาน แต่เป็นแรงผลักดัน สิ่งที่เขาใช้อย่างหนึ่งคือการสื่อสาร ทำให้เราเข้าใจความต้องการส่วนตัวของแต่ละบุคคล และขององค์การ โดยใช้ทักษะมากมาย เช่น การโน้มน้าวใจ โดยในที่ทำงานเราเห็นชัดเจน คือ การปฐมนิเทศ เพื่อสร้างความคุ้นเคย และข้อเสนอแนะกับพนักงาน
o การปฐมนิเทศ นอกจากเป็นการสร้างความคุ้นเคย และกรอกติการ่วมกันโดยจะมีการพูดถึง เป้าหมายขององค์การ พันธกิจ วิสัยทัศน์ ประวัติ องค์การ โดยเราฟังแล้วรู้สึกอย่างไร? เช่น ฮึกเหิม หรือ อยากเปลี่ยนองค์กรเลย เป็นต้น
สรุปแล้วทุกอย่างผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารองค์การ สรุปภาพกว้าง ในการสื่อสารดังนี้
๑. การสื่อสารระหว่างบุคคล
๒. เป้าหมายการติดต่อสื่อสาร
๓. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง การรับรู้ความสนใจของผู้รับสาร
องค์การมี
o คน
o วัตถุประสงค์ เพื่อ แก้ปัญหา หรือคำแนะนำ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ลักษณะการสื่อสารแตกต่างกัน
o การรับรู้และความสนใจ >>> ต้องดูกลุ่มเป้าหมาย (เช่น เพศ,การศึกษา,บริบทของเขา เช่น สถานที่ โดยจะมีผล ต่อ การยอมรับ ที่อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมสังคมไทย หรือ สังคมต่างชาติ เป็นต้น..
นั่งสรุปใต้ต้นหูกวางข้างตึกอธิการม.ราม ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
สอนโดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
เรียบเรียง และสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์
“don’t ask me , I just work here”
จากคำถามการสื่อสารการตีความไม่เหมือนกัน? เพราะอะไร?
- อะไรก็ตามตีความจะเข้าใจและตอบคำถามฯลฯ ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสิ้น
- การตีความ > อาจไม่อนุญาตสิ่งที่จะพูดก็ได้/สถานที่พูดได้ หรือ
- เรายังไม่มีข้อมูลจริงๆ หรือเราเป็นพนักงานใหม่ เพิ่งมาทำงานที่นี้
- การเลือกที่จะตอบ คือ strategic ของเรา
ดังนั้น การสื่อสารเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน/ วินาทีต่อไปจะเป็นการสื่อสารในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กัน
คำถาม : เราใช้การสื่อสารการหา/หรือการเปิดรับข้อมูลอย่างไร?
o ความสัมพันธ์
o โครงสร้างของหน่วยงาน/วัฒนธรรมขององค์การมีส่วนสร้างรูปแบบการสื่อสารของเรา
อย่างไร ? กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์การ< วัฒนธรรมต่างกัน>การสื่อสารต่างกัน
ตัวเราจะเป็นผู้ที่กำหนด > เราถูกตีกรอบวัฒนธรรมองค์การ คือเรานำตัวเรา เข้าไปในในองค์การด้วย ขณะเดียวกันเราก็อยู่ในองค์การหล่อหลอมตัวเราด้วย
ดังนั้นเรามีต่างมีเงื่อนไขของตัวเราและองค์การ เราจะมีกลยุทธ จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร ในตัวเราเองและองค์การไปพร้อมๆกันในฐานที่เราเป็นสมาชิกองค์การ เราจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับองค์การ
คำถาม : เราจะทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ได้อย่างไร
- เข้าใจคือ? จากการตีความของการสื่อสาร โดยอาจเป็นภาษา ทั้ง วัจนภาษา และอวัจนภาษา โดยดู บริบทแวดล้อม ประสบการณ์ของเรา
- การทำความเข้าใจของคนเราแตกต่างกันไป เช่น บ้าน บางคนอาจมีประสบการณ์ที่ดีกับบ้าน บ้านอาจเป็นที่มีความสุข ในทางกลับกันถ้าอีกคนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับบ้านอาจเป็นความทุกข์ก็ได้ / การศึกษา / ความสัมพันธ์ คนที่มีความสำคัญกับเราฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างมีอิทธิพลต่อความคิด และความคิดก็เปลี่ยนได้ตาม เวลา อายุ
- การสื่อสารเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนะคติ
- การทีเราทำความเข้าใจ /ความคิด เราเหมือนได้เรียนรู้กันและกัน เช่น การอ่านมาก ฟังมาก เราก็สามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ในทางกลับกันการที่เรามีข้อมูลข่าวสารที่เยอะ อาจเป็นปัญหาได้ถ้าไม่ไตรตรองให้ดี
คำถาม : คนที่มีความเข้าใจในของการสื่อสารในองค์ การมีทักษะในการสื่อสารที่พูดและเขียนมากพอ และรู้ว่าเมื่อไหร่และอย่างไรที่จะนำทักษะดังกล่าวมาใช้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จและมีส่วนผลักดันและส่งเสริมองค์การได้มากกว่า เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
- ปัจจัยที่เราทำความเข้าใจเมื่อไหร่ อย่างไร ที่เราจะพูด คือ
o การสังเกต + การคิดปรับตัว+ ลองทำ >>>ประเมินสิ่งที่สะท้อนกลับมา โดยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราพัฒนาการสื่อสารของเราได้ ว่าจะมีแนวทางการสื่อสารอย่างไร
o การถ่ายทอดสิ่งที่เราสื่อสาร (ในวิชาเจรจาต่อรองเป็นเรื่องที่ต้องเรียนศึกษา) โดยเรียนจากประสบการณ์ที่เรามี + feedback ที่กลับมา >>ทำให้เราปรับตัว+เรียนรู้ >>>พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคนไป
ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจการสื่อสารพัฒนาองค์การมีประโยชน์มาก กล่าวคือก้าวหน้าในสายงาน โดยเป็นสร้างอำนาจให้กับตัวเรา เช่นการมาเรียน Dev com
โดยทุกหน่วยงานการสื่อสารในองค์การมี สองระดับ กล่าว คือ ทุกหน่วยงานจะมีโดยสังเกตเวลาที่เราก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกองค์การเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ตัวเรามีตัวตนของเรา วัตถุประสงค์ ความต้องการส่วนตัว + องค์การ มีวัฒนธรรมองค์การ แบบวัฒนธรรมองค์การ เช่น การเรียนชั้นปริญญาโทการพัฒนาฯ เราก็มีกรอบใหญ่คือวัฒนธรรมกลุ่มเรียน ป.โท ซึ่งแต่ละรุ่นก็ต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนก็ต้องต่างกัน เราต้องการการปรับตัว
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราต้องการ บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือตัวเราและองค์การ หากเราเปลี่ยนหน้าองค์การ / มีข้อจำกัดไหม >>> ก็ต้องดูบริบทๆไป
ผลของวัฒนธรรมองค์การ
- บริบทครอบเราอยู่ คือ กรอบวัฒนธรรม
- การเรียนการสื่อสารต้องปรับอยู่ตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมที่เป็นกรอบใหญ่
สมาชิกมีความต้องการ ๓ ระดับ คือ
๑. Autonomy คือ เราจะต้องมีอำนาจในการควบคุมและตัดสิ้นใจระดับหนึ่ง / การที่เรามีตัวตน มีศักยภาพในการตัดสินใจในการทำงานระดับหนึ่ง ทำให้เรามีตัวตนในองค์การ
ระดับหนึ่ง คือ เราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่างเพราะเราถูกตีกรอบทางวัฒนธรรม กฎ กติกา และข้อจำกัดขององค์การ
๒.creativity คือ การที่เราสร้างอะไรขึ้นมามีความแตกต่าง โดยเรามีส่วนได้คิด และสร้างสรรค์งานใหม่ได้ แต่ อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรม เพราะไม่อย่างนั้นเราจะอยู่ไปวันๆ
๓.sociability คือ ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆในที่ทำงาน/ มองเป็นบวก/เพื่อนร่วมงานที่คุยกันได้
สรุป โดยภายใต้ keyword ๓ คำ ถูกตีกรอบ เงื่อนไข ข้อจำกัด โดยหน่วยงานและวัฒนธรรมองค์การ
พนักงานองค์การ (ความต้องการของตัวเรา)
- ชีวิตข้างนอก + การทำงานความสัมพันธ์
- ต้องการความมั่นคง ในชีวิตและการทำงาน
- ต้องการอนาคต และการเติบโตในสายงาน
ดังนั้นเราต้องรู้ว่า เราเป็นใคร? เราต้องการอะไร ? ว่า
- เราไม่ได้อยู่คนเดียวในสังคม เราโยงใยกับคนอื่นๆ ทุกอย่างเป็นเครือข่ายโยงใยกันหมด เช่น การเป็นครู คุณต้องมีทุน การมีขาว ก็ต้องมีดำ มีเจ้านายต้องมีเจ้านาย ใช้หลักง่ายๆในการเปรียบเทียบ
- ทั้งหมดเราจะสร้างตัวเราและองค์กาหล่อหลอมตัวเรา
การที่เรามีอิสระ ความสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ อยู่
ภายใต้กรอบกติกา ข้อกำหนดของความต้องการของหน่วยงาน
- เราถูกควบคุม(contral) เช่น เรื่องเวลาเข้าออกทำงาน
- ประสานงานกัน( coordinate ) (คือ องค์การมีเครื่องมือ/ อุปกรณ์ที่ต้องทำ โดยองค์การไม่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีโครงสร้างที่ชัดเจน เรามีอิสระระดับหนึ่ง เราถูกกำหนดด้วยข้อบังคับ กติกา การให้อิสระที่จะไป มีช่องว่างให้สมาชิกขยับตัว ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานประสบความสำเร็จ
- บริบทที่ใหญ่ ที่ครอบอยู่ คือ วัฒนธรรม เช่น ในเอเชีย ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กลุ่ม แต่ในชาติตะวันตกให้ความสัมพันธ์ตนเอง
- “สมาชิกองค์การเราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราทำงานด้วยกัน”
โดยเราต้องทางผสมกลมกลืนได้ ไม่ใช่แรงเสียดทาน แต่เป็นแรงผลักดัน สิ่งที่เขาใช้อย่างหนึ่งคือการสื่อสาร ทำให้เราเข้าใจความต้องการส่วนตัวของแต่ละบุคคล และขององค์การ โดยใช้ทักษะมากมาย เช่น การโน้มน้าวใจ โดยในที่ทำงานเราเห็นชัดเจน คือ การปฐมนิเทศ เพื่อสร้างความคุ้นเคย และข้อเสนอแนะกับพนักงาน
o การปฐมนิเทศ นอกจากเป็นการสร้างความคุ้นเคย และกรอกติการ่วมกันโดยจะมีการพูดถึง เป้าหมายขององค์การ พันธกิจ วิสัยทัศน์ ประวัติ องค์การ โดยเราฟังแล้วรู้สึกอย่างไร? เช่น ฮึกเหิม หรือ อยากเปลี่ยนองค์กรเลย เป็นต้น
สรุปแล้วทุกอย่างผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารองค์การ สรุปภาพกว้าง ในการสื่อสารดังนี้
๑. การสื่อสารระหว่างบุคคล
๒. เป้าหมายการติดต่อสื่อสาร
๓. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง การรับรู้ความสนใจของผู้รับสาร
องค์การมี
o คน
o วัตถุประสงค์ เพื่อ แก้ปัญหา หรือคำแนะนำ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ลักษณะการสื่อสารแตกต่างกัน
o การรับรู้และความสนใจ >>> ต้องดูกลุ่มเป้าหมาย (เช่น เพศ,การศึกษา,บริบทของเขา เช่น สถานที่ โดยจะมีผล ต่อ การยอมรับ ที่อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมสังคมไทย หรือ สังคมต่างชาติ เป็นต้น..
นั่งสรุปใต้ต้นหูกวางข้างตึกอธิการม.ราม ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กลยุทธการสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กร (ครั้งที่๑)
สรุปคำบรรยาย วิชา กลยุทธการสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กร (ครั้งที่๑)
เรียบเรียงจากคำสอน ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
โดย อาณาจักร โกวิทย์
ขอบข่ายการเรียนวิชานี้
มีผู้สอน ๒ ท่าน คือ
๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
โดยคะแนนแบ่งเป็น อาจารย์ ท่านละ ๕๐ คะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน
โดยแบ่งเป็นคะแนนสอบ ๘๐ คะแนน โดยข้อสอบมี ๔ ข้อ แบ่งกันออกท่านละ ๒ ข้อ
โดยมีคะแนนเก็บ ๒๐ คะแนน แบ่งเป็น
๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร คะแนนจากตรวจสมุด ๑๐ คะแนน
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์ ??
ท่านละ ๑ คะแนน
ระดับเกรด ๘๐ A
วิชา Organizational communication
วิชานี้เป็นสาขาหนึ่งขอการสื่อสาร การสื่อสารจะแบ่งออกเป็น บริบท Context ไม่เกิดขึ้นในสุญญากาศ หมายความว่า เกิดขึ้นในบริบทหนึ่งของสังคม เช่น
- การสื่อสารกลุ่มย่อย , ประชุม -- เป็นบริบท
- การสื่อสารระหว่างบุคคล หรือ ๒> ก็เป็นบริบท
- กระบวนการคิด(การสื่อสารภายใน) ก็เป็นบริบทหนึ่ง เป็นต้น
ดังนั้นการสื่อสาร เป็นการสื่อสารบริบทหนึ่งในสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร
โดยจะแตกต่างกันโดยพฤติกรรมการสื่อสาร/ปัจจัยที่เกิดขึ้นทุกบริบทมีผลต่อการสื่อสาร เพราะฉะนั้นการสื่อสารแต่ละอย่างจึ่งต้องมีความแตกต่างกัน
Organizational communication เป็นสาขาหนึ่งเชิงประยุกต์ ทางปฏิบัติ และเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญ
ศึกษาในลักษณะเชิงประยุกต์ (theories in communication) จะต้องใช้ทฤษฎีเกิดขึ้นในบริบทนั้นๆมาประยุกต์ใช้ เช่น
- ทฤษฎีองค์กร
- การสื่อสารระหว่างบุคคล > ใช้หลักจิตวิทยา หรือสังคมวิทยา
- การสื่อสารระหว่างบุคคล> ใช้หลักจิตวิทยา
- ทฤษฎีการสื่อสารสาธารณะ
- Mass communication เกิดจาก วิชาจิตวิทยา > ความมีตัวตน และนักสังคมวิทยาเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้นับร้อยเล่ม
หลักปรัชญา ใช้ทฤษฎีเชิงประยุกต์ไป
สรุป ความหมายกว้างๆของ Organizational communication
๑. ต้องเกิดขึ้นในบริบท
๒. เกิดจากการใช้ศาสตร์อื่นเข้ามาประยุกต์ การศึกษาต้องศึกษาบริบทอื่นมาประยุกต์ด้วย
การเข้าใจวิชานี้มี ๒ คำ
- Organizational
- communication
- คำสองคำไม่ได้รวมกันโดยบังเอิญ มันเกิดขึ้นอยู่แล้ว เราศึกษาได้เราต้องศึกษาปัจจัย ๒ คำนี้เป็นคำเดียวกัน โดย Organizational เป็นคำขยายของ communication
อธิบายความหมาย
- Organizational ในศาสตร์ต่างเรียน เช่น บริหารธุรกิจ,รัฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเรียนในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป จุดเน้นแตกต่างกันไป
Organizational คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร
ความสำคัญ “สังคมของเรานั้นคือสังคมองค์กร” “our society is an Organizational society”
สรุป คือ
๑. มนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย มีความสัมพันธ์และพึ่งพาองค์การ เช่น จะต้องมีเสื้อผ้าใส่ ต้องมีโรงงานผลิต มีโรงเรียนไว้สอนหนังสือฯลฯ)
๒. องค์กรเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์(need)
๓. องค์การเป็นกลไก ของสังคม จะพัฒนาหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์การ
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม (social animal)
มนุษย์เราอ่อนแอในช่วงวิวัฒนาการ เราสูญเสียอะไรบางอย่าง (เช่นสูญเสียความแข็งแกร่งทางกายภาพ นอกจากนั้นยังสูญเสียความสามารถประสาทสัมผัส เช่นสายตา กลิ่น เป็นต้น) แต่สิ่งที่มนุษย์พัฒนาการมากกว่าสัตว์ คือ ความคิด(ปัญญา) การพัฒนาการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์สูญเสียอีกด้านหนึ่ง แต่พัฒนาความคิด ถ้าจะทำให้มนุษย์พัฒนาว่าอยู่คนเดียวตายแน่ ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน สัตว์ มนุษย์ มีความผูกผันทางจิตใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนจากการพัฒนา ครอบครัว หมู่บ้าน สังคม ระดับประเทศ โดยช่วยกันต่อสู้ หาอาหาร ฯลฯ มีการแบ่งบทบาท พัฒนาสังคมที่ซับซ้อน ประกอบความก้าวหน้า ประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอด สังคมพัฒนาเรื่อยๆ+ ความต้องการของมนุษย์ ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่มนุษย์ต้องการสูงสุด คือ ต้องการเอาชนะธรรมชาติ เช่น มนุษย์บินไม่ได้ ใช้เครื่องบิน หายใจในน้ำไม่ได้ทำเครื่องดำน้ำ
มนุษย์มีสัญชาตญาณการทำลายอยู่ด้วยเช่นกันนอกนั้น เวลาที่อยู่ด้วยกัน + ความเหนือกว่าคนอื่น เริ่มจากอิจฉา จนพัฒนาเป็นสงคราม
คำถาม ถ้าปัจจุบันไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล องค์การต่างๆ ได้ไหม..คำคอบคือไม่ได้เพราะเราย้อนกลับไปอย่างเดิมไม่ได้
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีองค์การพัฒนาไม่หยุดนิ่ง แต่มองแง่ดี คือการพัฒนา คือทำให้ดีขึ้น ทั้งร่างกาย และจิตใจ (โดยใครที่สนใจให้ศึกษาวิชาสังคมวิทยาเพิ่มเติม)
ความหมายของ Organization
นิยาม ของมันคือ นิยามคือเราเปิดหนังสือ ๑๐๐ เล่มอ่านแต่จะมีความเหมือนหรือความคล้ายกัน ไม่มีความถูกผิด แต่จะมีแก่นกลางของนิยาม
องค์การ (Organization)
๑. กลุ่มทางสังคม ที่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์ มีบทบาทและประสานงานเพื่อนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันและทำนองเดียวกลับกัน การกระทำองค์การมีผลไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อสมาชิกขององค์การเองและสังคมโดยรวม (คือการกระทำขององค์การมีอิทธิพลต่อสมาชิกองค์การเอง)
บทบาท เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ
ประสานงาน บอกถึง กฎเกณฑ์สิ่งที่รับผิดชอบอะไร
องค์การไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เป้าหมาย + นโยบาย (บอกแนวทางและบทบาท) โดยทุกองกรมีวัตถุประสงค์ เพื่อ บรรลุเป้าหมาย
จากนิยามแล้วมาดูแนวคิดที่ฝั่งอยู่
เช่น ความสัมพันธ์ บทบาท ประสานงาน ฯลฯ
นักวิชาการส่วนใหญ่เป็นอะไรบางเน้นอะไรบ้างจะเรียกว่า ลักษณะขององค์การ
ลักษณะขององค์การ
๑. ต้องเป็นสมาชิก คือ เป็นมนุษย์(เท่านั้น) โดยมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งบทบาทเชิงการจัดการและบริหารได้ เพื่อนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ถ้าพิจารณาด้านการสื่อสาร องค์กรเป็นบริบท ลักษณะของกลุ่มจะปรากฏในองค์การ
๒. มีความสัมพันธ์ คือ เกิดจาการสื่อสาร (ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่)
๓. มีบทบาท คือมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ บอกว่าอะไรควรทำ/ไม่ควรทำ > องค์กรซับซ้อน > ตำแหน่ง
๔. ต้องมีการประสานงานกัน คือ มีกฎ ระเบียบ นโยบาย
๕. มีเป้าหมายร่วมกัน คือ วัตถุประสงค์,พันธกิจฯลฯ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างละเอียดหรือคร่าวๆ
๖. เวลา เป็นปัจจัยเรื่องเวลา เป็นระยะยาว
๗. Proximics คือ มีระยะทาง/เทคโนโลยี คือ โบราณมาทำงานรวมกันที่ใดที่หนึ่ง(สถานที่เดียวกัน สมัยปัจจุบัน ระยะทางถูกข้ามข้อจำกัด
ด้วยเทคโนโลยี ทางวิชาการ social unit ไม่หมายถึงแต่องค์กร ยังรวมถึงครอบคัว ความผูกพันทางสายเลือด
การนิยามมุมมองกว้างก่อน แล้วค่อยๆถึงองค์ประกอบลักษณะอื่นๆ ออกมาให้เห้นความเหมือนความแตกต่าง
การสื่อสาร (communication)
นิยาม Symbolic behavior
ความสามารถในการคิด >สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาอีกอย่าง คือ สัญลักษณ์ ตัวแทนความหมาย เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความคิด มนุษย์มีการแปลความหมาย ตีความ ทำให้เกิดภาพในสมองต่างๆ
สัญลักษณ์เป็นตัวแทนของนามธรรม+รูปธรรม
โดยสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดการใช้สัญลักษณ์
การสื่อสารของมนุษย์ คือ การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อ(ไม่ใช่ส่ง = ใส่ความถอดหัวไปให้อีกคน) ความหมายถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก และตีความตามกรอบของวัฒนธรรม (ตย.ปากา ภาษาอังกฤษเรียก Pen)
สัญลักษณ์ คือตัวแทน วัตถุ ความคิด ความรู้สึก หรือลักษณะอื่นๆ ที่มนาย์สามารถตีความหมายได้
ลักษณะของการสื่อสาร
๑. เกี่ยวข้องกับความหมาย (meaning) โดยเกิดจากกระบวนการความคิด
๒. การสื่อสารไม่เกิดในสูญกาศต้องเกิดในบริบทใดบริบทหนึ่ง (คือ ต้องเอาบริบทมาพูดด้วย)
๓. การสื่อสารต้องมีหน้าที่ รวมถึงภาพลักษณ์ ทัศนะคติ ความเชื่อ คือ ทุกอย่างต้องมีหน้าที่ โดยหน้าที่จะแบ่งโดยบริบท คือ
a. ก่อให้เกิดความคิด
b. ช่วยให้ปรับตัว
c. สร้างความสัมพันธ์
๔. มนุษย์คนเราต้องมีการสื่อสารหลีกเลี่ยงไม่ได้ (one cannot not communication)
๕. ประสบการณ์ตามกรอบของวัฒนธรรม การสื่อสาหลัก คือ ความจำ เช่น เตารีดถ้าร้อนเราก็ไม่อยากจับอีก)
๖. วัฒนธรรม (Edword T. Hall) “การสื่อสารก็คือวัฒนธรรม วัฒนธรรมก็คือการสื่อสาร”
สรุป นิยามการสื่อสารองค์การ (organization communication)
“พฤติกรรมการใช้สัญลักษณ์ของสมาชิกในองค์การ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ประสานงานเพื่อให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมาย”
ในนิยามนี้มี “พฤติกรรม” คืออะไร
โดยพฤติกรรม แบ่งเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นและพฤติกรรมที่มองไม่เห็น และมีสาเหตุที่ระบุได้ และในองค์การมีพฤติกรรมซึ่งลักษณะเฉพาะ หรือมีสาเหตุที่ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่นความขัดแย้ง / การตัดสิ้นใจ / ผู้นำ ซึ่งพฤติกรรมการสื่อสารก็จะเข้าไปเกี่ยวข้องทุกระดับ หรืออาจเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม พฤติกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร แต่มีเงื่อนไขเงื่อนไขหนึ่ง ต้องมีเจตนา + ความตระหนัก = ผู้ส่งสารต้องรู้สึกตัว
คำถามทบทวนความจำ ???
/////////////
คราวหน้าผมจะสรุปทฤษฎีต่างๆนำมาลงครับ..
คืนวันหลังสอบ..สรุปได้แค่นี้
เรียบเรียงจากคำสอน ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
โดย อาณาจักร โกวิทย์
ขอบข่ายการเรียนวิชานี้
มีผู้สอน ๒ ท่าน คือ
๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์
โดยคะแนนแบ่งเป็น อาจารย์ ท่านละ ๕๐ คะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน
โดยแบ่งเป็นคะแนนสอบ ๘๐ คะแนน โดยข้อสอบมี ๔ ข้อ แบ่งกันออกท่านละ ๒ ข้อ
โดยมีคะแนนเก็บ ๒๐ คะแนน แบ่งเป็น
๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร คะแนนจากตรวจสมุด ๑๐ คะแนน
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์ ??
ท่านละ ๑ คะแนน
ระดับเกรด ๘๐ A
วิชา Organizational communication
วิชานี้เป็นสาขาหนึ่งขอการสื่อสาร การสื่อสารจะแบ่งออกเป็น บริบท Context ไม่เกิดขึ้นในสุญญากาศ หมายความว่า เกิดขึ้นในบริบทหนึ่งของสังคม เช่น
- การสื่อสารกลุ่มย่อย , ประชุม -- เป็นบริบท
- การสื่อสารระหว่างบุคคล หรือ ๒> ก็เป็นบริบท
- กระบวนการคิด(การสื่อสารภายใน) ก็เป็นบริบทหนึ่ง เป็นต้น
ดังนั้นการสื่อสาร เป็นการสื่อสารบริบทหนึ่งในสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร
โดยจะแตกต่างกันโดยพฤติกรรมการสื่อสาร/ปัจจัยที่เกิดขึ้นทุกบริบทมีผลต่อการสื่อสาร เพราะฉะนั้นการสื่อสารแต่ละอย่างจึ่งต้องมีความแตกต่างกัน
Organizational communication เป็นสาขาหนึ่งเชิงประยุกต์ ทางปฏิบัติ และเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญ
ศึกษาในลักษณะเชิงประยุกต์ (theories in communication) จะต้องใช้ทฤษฎีเกิดขึ้นในบริบทนั้นๆมาประยุกต์ใช้ เช่น
- ทฤษฎีองค์กร
- การสื่อสารระหว่างบุคคล > ใช้หลักจิตวิทยา หรือสังคมวิทยา
- การสื่อสารระหว่างบุคคล> ใช้หลักจิตวิทยา
- ทฤษฎีการสื่อสารสาธารณะ
- Mass communication เกิดจาก วิชาจิตวิทยา > ความมีตัวตน และนักสังคมวิทยาเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้นับร้อยเล่ม
หลักปรัชญา ใช้ทฤษฎีเชิงประยุกต์ไป
สรุป ความหมายกว้างๆของ Organizational communication
๑. ต้องเกิดขึ้นในบริบท
๒. เกิดจากการใช้ศาสตร์อื่นเข้ามาประยุกต์ การศึกษาต้องศึกษาบริบทอื่นมาประยุกต์ด้วย
การเข้าใจวิชานี้มี ๒ คำ
- Organizational
- communication
- คำสองคำไม่ได้รวมกันโดยบังเอิญ มันเกิดขึ้นอยู่แล้ว เราศึกษาได้เราต้องศึกษาปัจจัย ๒ คำนี้เป็นคำเดียวกัน โดย Organizational เป็นคำขยายของ communication
อธิบายความหมาย
- Organizational ในศาสตร์ต่างเรียน เช่น บริหารธุรกิจ,รัฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเรียนในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป จุดเน้นแตกต่างกันไป
Organizational คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร
ความสำคัญ “สังคมของเรานั้นคือสังคมองค์กร” “our society is an Organizational society”
สรุป คือ
๑. มนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย มีความสัมพันธ์และพึ่งพาองค์การ เช่น จะต้องมีเสื้อผ้าใส่ ต้องมีโรงงานผลิต มีโรงเรียนไว้สอนหนังสือฯลฯ)
๒. องค์กรเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์(need)
๓. องค์การเป็นกลไก ของสังคม จะพัฒนาหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์การ
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม (social animal)
มนุษย์เราอ่อนแอในช่วงวิวัฒนาการ เราสูญเสียอะไรบางอย่าง (เช่นสูญเสียความแข็งแกร่งทางกายภาพ นอกจากนั้นยังสูญเสียความสามารถประสาทสัมผัส เช่นสายตา กลิ่น เป็นต้น) แต่สิ่งที่มนุษย์พัฒนาการมากกว่าสัตว์ คือ ความคิด(ปัญญา) การพัฒนาการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์สูญเสียอีกด้านหนึ่ง แต่พัฒนาความคิด ถ้าจะทำให้มนุษย์พัฒนาว่าอยู่คนเดียวตายแน่ ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน สัตว์ มนุษย์ มีความผูกผันทางจิตใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนจากการพัฒนา ครอบครัว หมู่บ้าน สังคม ระดับประเทศ โดยช่วยกันต่อสู้ หาอาหาร ฯลฯ มีการแบ่งบทบาท พัฒนาสังคมที่ซับซ้อน ประกอบความก้าวหน้า ประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอด สังคมพัฒนาเรื่อยๆ+ ความต้องการของมนุษย์ ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่มนุษย์ต้องการสูงสุด คือ ต้องการเอาชนะธรรมชาติ เช่น มนุษย์บินไม่ได้ ใช้เครื่องบิน หายใจในน้ำไม่ได้ทำเครื่องดำน้ำ
มนุษย์มีสัญชาตญาณการทำลายอยู่ด้วยเช่นกันนอกนั้น เวลาที่อยู่ด้วยกัน + ความเหนือกว่าคนอื่น เริ่มจากอิจฉา จนพัฒนาเป็นสงคราม
คำถาม ถ้าปัจจุบันไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล องค์การต่างๆ ได้ไหม..คำคอบคือไม่ได้เพราะเราย้อนกลับไปอย่างเดิมไม่ได้
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีองค์การพัฒนาไม่หยุดนิ่ง แต่มองแง่ดี คือการพัฒนา คือทำให้ดีขึ้น ทั้งร่างกาย และจิตใจ (โดยใครที่สนใจให้ศึกษาวิชาสังคมวิทยาเพิ่มเติม)
ความหมายของ Organization
นิยาม ของมันคือ นิยามคือเราเปิดหนังสือ ๑๐๐ เล่มอ่านแต่จะมีความเหมือนหรือความคล้ายกัน ไม่มีความถูกผิด แต่จะมีแก่นกลางของนิยาม
องค์การ (Organization)
๑. กลุ่มทางสังคม ที่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์ มีบทบาทและประสานงานเพื่อนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันและทำนองเดียวกลับกัน การกระทำองค์การมีผลไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อสมาชิกขององค์การเองและสังคมโดยรวม (คือการกระทำขององค์การมีอิทธิพลต่อสมาชิกองค์การเอง)
บทบาท เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ
ประสานงาน บอกถึง กฎเกณฑ์สิ่งที่รับผิดชอบอะไร
องค์การไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เป้าหมาย + นโยบาย (บอกแนวทางและบทบาท) โดยทุกองกรมีวัตถุประสงค์ เพื่อ บรรลุเป้าหมาย
จากนิยามแล้วมาดูแนวคิดที่ฝั่งอยู่
เช่น ความสัมพันธ์ บทบาท ประสานงาน ฯลฯ
นักวิชาการส่วนใหญ่เป็นอะไรบางเน้นอะไรบ้างจะเรียกว่า ลักษณะขององค์การ
ลักษณะขององค์การ
๑. ต้องเป็นสมาชิก คือ เป็นมนุษย์(เท่านั้น) โดยมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งบทบาทเชิงการจัดการและบริหารได้ เพื่อนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ถ้าพิจารณาด้านการสื่อสาร องค์กรเป็นบริบท ลักษณะของกลุ่มจะปรากฏในองค์การ
๒. มีความสัมพันธ์ คือ เกิดจาการสื่อสาร (ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่)
๓. มีบทบาท คือมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ บอกว่าอะไรควรทำ/ไม่ควรทำ > องค์กรซับซ้อน > ตำแหน่ง
๔. ต้องมีการประสานงานกัน คือ มีกฎ ระเบียบ นโยบาย
๕. มีเป้าหมายร่วมกัน คือ วัตถุประสงค์,พันธกิจฯลฯ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างละเอียดหรือคร่าวๆ
๖. เวลา เป็นปัจจัยเรื่องเวลา เป็นระยะยาว
๗. Proximics คือ มีระยะทาง/เทคโนโลยี คือ โบราณมาทำงานรวมกันที่ใดที่หนึ่ง(สถานที่เดียวกัน สมัยปัจจุบัน ระยะทางถูกข้ามข้อจำกัด
ด้วยเทคโนโลยี ทางวิชาการ social unit ไม่หมายถึงแต่องค์กร ยังรวมถึงครอบคัว ความผูกพันทางสายเลือด
การนิยามมุมมองกว้างก่อน แล้วค่อยๆถึงองค์ประกอบลักษณะอื่นๆ ออกมาให้เห้นความเหมือนความแตกต่าง
การสื่อสาร (communication)
นิยาม Symbolic behavior
ความสามารถในการคิด >สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาอีกอย่าง คือ สัญลักษณ์ ตัวแทนความหมาย เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความคิด มนุษย์มีการแปลความหมาย ตีความ ทำให้เกิดภาพในสมองต่างๆ
สัญลักษณ์เป็นตัวแทนของนามธรรม+รูปธรรม
โดยสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดการใช้สัญลักษณ์
การสื่อสารของมนุษย์ คือ การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อ(ไม่ใช่ส่ง = ใส่ความถอดหัวไปให้อีกคน) ความหมายถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก และตีความตามกรอบของวัฒนธรรม (ตย.ปากา ภาษาอังกฤษเรียก Pen)
สัญลักษณ์ คือตัวแทน วัตถุ ความคิด ความรู้สึก หรือลักษณะอื่นๆ ที่มนาย์สามารถตีความหมายได้
ลักษณะของการสื่อสาร
๑. เกี่ยวข้องกับความหมาย (meaning) โดยเกิดจากกระบวนการความคิด
๒. การสื่อสารไม่เกิดในสูญกาศต้องเกิดในบริบทใดบริบทหนึ่ง (คือ ต้องเอาบริบทมาพูดด้วย)
๓. การสื่อสารต้องมีหน้าที่ รวมถึงภาพลักษณ์ ทัศนะคติ ความเชื่อ คือ ทุกอย่างต้องมีหน้าที่ โดยหน้าที่จะแบ่งโดยบริบท คือ
a. ก่อให้เกิดความคิด
b. ช่วยให้ปรับตัว
c. สร้างความสัมพันธ์
๔. มนุษย์คนเราต้องมีการสื่อสารหลีกเลี่ยงไม่ได้ (one cannot not communication)
๕. ประสบการณ์ตามกรอบของวัฒนธรรม การสื่อสาหลัก คือ ความจำ เช่น เตารีดถ้าร้อนเราก็ไม่อยากจับอีก)
๖. วัฒนธรรม (Edword T. Hall) “การสื่อสารก็คือวัฒนธรรม วัฒนธรรมก็คือการสื่อสาร”
สรุป นิยามการสื่อสารองค์การ (organization communication)
“พฤติกรรมการใช้สัญลักษณ์ของสมาชิกในองค์การ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ประสานงานเพื่อให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมาย”
ในนิยามนี้มี “พฤติกรรม” คืออะไร
โดยพฤติกรรม แบ่งเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นและพฤติกรรมที่มองไม่เห็น และมีสาเหตุที่ระบุได้ และในองค์การมีพฤติกรรมซึ่งลักษณะเฉพาะ หรือมีสาเหตุที่ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่นความขัดแย้ง / การตัดสิ้นใจ / ผู้นำ ซึ่งพฤติกรรมการสื่อสารก็จะเข้าไปเกี่ยวข้องทุกระดับ หรืออาจเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม พฤติกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร แต่มีเงื่อนไขเงื่อนไขหนึ่ง ต้องมีเจตนา + ความตระหนัก = ผู้ส่งสารต้องรู้สึกตัว
คำถามทบทวนความจำ ???
/////////////
คราวหน้าผมจะสรุปทฤษฎีต่างๆนำมาลงครับ..
คืนวันหลังสอบ..สรุปได้แค่นี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)