วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธการสื่อสารในองค์การ (อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์) ครั้งที่ ๑ วันศุกร์

กลยุทธการสื่อสารในองค์การ

สอนโดย อ.ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์

เรียบเรียง และสรุปโดย อาณาจักร โกวิทย์






“don’t ask me , I just work here”

จากคำถามการสื่อสารการตีความไม่เหมือนกัน? เพราะอะไร?

- อะไรก็ตามตีความจะเข้าใจและตอบคำถามฯลฯ ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสิ้น
- การตีความ > อาจไม่อนุญาตสิ่งที่จะพูดก็ได้/สถานที่พูดได้ หรือ
- เรายังไม่มีข้อมูลจริงๆ หรือเราเป็นพนักงานใหม่ เพิ่งมาทำงานที่นี้
- การเลือกที่จะตอบ คือ strategic ของเรา
ดังนั้น การสื่อสารเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน/ วินาทีต่อไปจะเป็นการสื่อสารในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กัน


คำถาม : เราใช้การสื่อสารการหา/หรือการเปิดรับข้อมูลอย่างไร?

o ความสัมพันธ์
o โครงสร้างของหน่วยงาน/วัฒนธรรมขององค์การมีส่วนสร้างรูปแบบการสื่อสารของเรา
อย่างไร ? กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์การ< วัฒนธรรมต่างกัน>การสื่อสารต่างกัน
ตัวเราจะเป็นผู้ที่กำหนด > เราถูกตีกรอบวัฒนธรรมองค์การ คือเรานำตัวเรา เข้าไปในในองค์การด้วย ขณะเดียวกันเราก็อยู่ในองค์การหล่อหลอมตัวเราด้วย

ดังนั้นเรามีต่างมีเงื่อนไขของตัวเราและองค์การ เราจะมีกลยุทธ จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร ในตัวเราเองและองค์การไปพร้อมๆกันในฐานที่เราเป็นสมาชิกองค์การ เราจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับองค์การ

คำถาม : เราจะทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ได้อย่างไร

- เข้าใจคือ? จากการตีความของการสื่อสาร โดยอาจเป็นภาษา ทั้ง วัจนภาษา และอวัจนภาษา โดยดู บริบทแวดล้อม ประสบการณ์ของเรา
- การทำความเข้าใจของคนเราแตกต่างกันไป เช่น บ้าน บางคนอาจมีประสบการณ์ที่ดีกับบ้าน บ้านอาจเป็นที่มีความสุข ในทางกลับกันถ้าอีกคนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับบ้านอาจเป็นความทุกข์ก็ได้ / การศึกษา / ความสัมพันธ์ คนที่มีความสำคัญกับเราฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างมีอิทธิพลต่อความคิด และความคิดก็เปลี่ยนได้ตาม เวลา อายุ

- การสื่อสารเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนะคติ
- การทีเราทำความเข้าใจ /ความคิด เราเหมือนได้เรียนรู้กันและกัน เช่น การอ่านมาก ฟังมาก เราก็สามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ในทางกลับกันการที่เรามีข้อมูลข่าวสารที่เยอะ อาจเป็นปัญหาได้ถ้าไม่ไตรตรองให้ดี

คำถาม : คนที่มีความเข้าใจในของการสื่อสารในองค์ การมีทักษะในการสื่อสารที่พูดและเขียนมากพอ และรู้ว่าเมื่อไหร่และอย่างไรที่จะนำทักษะดังกล่าวมาใช้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จและมีส่วนผลักดันและส่งเสริมองค์การได้มากกว่า เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
- ปัจจัยที่เราทำความเข้าใจเมื่อไหร่ อย่างไร ที่เราจะพูด คือ

o การสังเกต + การคิดปรับตัว+ ลองทำ >>>ประเมินสิ่งที่สะท้อนกลับมา โดยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราพัฒนาการสื่อสารของเราได้ ว่าจะมีแนวทางการสื่อสารอย่างไร
o การถ่ายทอดสิ่งที่เราสื่อสาร (ในวิชาเจรจาต่อรองเป็นเรื่องที่ต้องเรียนศึกษา) โดยเรียนจากประสบการณ์ที่เรามี + feedback ที่กลับมา >>ทำให้เราปรับตัว+เรียนรู้ >>>พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคนไป

ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจการสื่อสารพัฒนาองค์การมีประโยชน์มาก กล่าวคือก้าวหน้าในสายงาน โดยเป็นสร้างอำนาจให้กับตัวเรา เช่นการมาเรียน Dev com

โดยทุกหน่วยงานการสื่อสารในองค์การมี สองระดับ กล่าว คือ ทุกหน่วยงานจะมีโดยสังเกตเวลาที่เราก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกองค์การเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ตัวเรามีตัวตนของเรา วัตถุประสงค์ ความต้องการส่วนตัว + องค์การ มีวัฒนธรรมองค์การ แบบวัฒนธรรมองค์การ เช่น การเรียนชั้นปริญญาโทการพัฒนาฯ เราก็มีกรอบใหญ่คือวัฒนธรรมกลุ่มเรียน ป.โท ซึ่งแต่ละรุ่นก็ต่างกัน ดังนั้นการเรียนการสอนก็ต้องต่างกัน เราต้องการการปรับตัว

แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราต้องการ บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือตัวเราและองค์การ หากเราเปลี่ยนหน้าองค์การ / มีข้อจำกัดไหม >>> ก็ต้องดูบริบทๆไป

ผลของวัฒนธรรมองค์การ

- บริบทครอบเราอยู่ คือ กรอบวัฒนธรรม
- การเรียนการสื่อสารต้องปรับอยู่ตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมที่เป็นกรอบใหญ่
สมาชิกมีความต้องการ ๓ ระดับ คือ

๑. Autonomy คือ เราจะต้องมีอำนาจในการควบคุมและตัดสิ้นใจระดับหนึ่ง / การที่เรามีตัวตน มีศักยภาพในการตัดสินใจในการทำงานระดับหนึ่ง ทำให้เรามีตัวตนในองค์การ
ระดับหนึ่ง คือ เราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่างเพราะเราถูกตีกรอบทางวัฒนธรรม กฎ กติกา และข้อจำกัดขององค์การ

๒.creativity คือ การที่เราสร้างอะไรขึ้นมามีความแตกต่าง โดยเรามีส่วนได้คิด และสร้างสรรค์งานใหม่ได้ แต่ อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรม เพราะไม่อย่างนั้นเราจะอยู่ไปวันๆ

๓.sociability คือ ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆในที่ทำงาน/ มองเป็นบวก/เพื่อนร่วมงานที่คุยกันได้

สรุป โดยภายใต้ keyword ๓ คำ ถูกตีกรอบ เงื่อนไข ข้อจำกัด โดยหน่วยงานและวัฒนธรรมองค์การ

พนักงานองค์การ (ความต้องการของตัวเรา)

- ชีวิตข้างนอก + การทำงานความสัมพันธ์
- ต้องการความมั่นคง ในชีวิตและการทำงาน
- ต้องการอนาคต และการเติบโตในสายงาน

ดังนั้นเราต้องรู้ว่า เราเป็นใคร? เราต้องการอะไร ? ว่า

- เราไม่ได้อยู่คนเดียวในสังคม เราโยงใยกับคนอื่นๆ ทุกอย่างเป็นเครือข่ายโยงใยกันหมด เช่น การเป็นครู คุณต้องมีทุน การมีขาว ก็ต้องมีดำ มีเจ้านายต้องมีเจ้านาย ใช้หลักง่ายๆในการเปรียบเทียบ
- ทั้งหมดเราจะสร้างตัวเราและองค์กาหล่อหลอมตัวเรา

การที่เรามีอิสระ ความสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ อยู่

ภายใต้กรอบกติกา ข้อกำหนดของความต้องการของหน่วยงาน
- เราถูกควบคุม(contral) เช่น เรื่องเวลาเข้าออกทำงาน
- ประสานงานกัน( coordinate ) (คือ องค์การมีเครื่องมือ/ อุปกรณ์ที่ต้องทำ โดยองค์การไม่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีโครงสร้างที่ชัดเจน เรามีอิสระระดับหนึ่ง เราถูกกำหนดด้วยข้อบังคับ กติกา การให้อิสระที่จะไป มีช่องว่างให้สมาชิกขยับตัว ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานประสบความสำเร็จ
- บริบทที่ใหญ่ ที่ครอบอยู่ คือ วัฒนธรรม เช่น ในเอเชีย ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กลุ่ม แต่ในชาติตะวันตกให้ความสัมพันธ์ตนเอง
- “สมาชิกองค์การเราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราทำงานด้วยกัน”
โดยเราต้องทางผสมกลมกลืนได้ ไม่ใช่แรงเสียดทาน แต่เป็นแรงผลักดัน สิ่งที่เขาใช้อย่างหนึ่งคือการสื่อสาร ทำให้เราเข้าใจความต้องการส่วนตัวของแต่ละบุคคล และขององค์การ โดยใช้ทักษะมากมาย เช่น การโน้มน้าวใจ โดยในที่ทำงานเราเห็นชัดเจน คือ การปฐมนิเทศ เพื่อสร้างความคุ้นเคย และข้อเสนอแนะกับพนักงาน
o การปฐมนิเทศ นอกจากเป็นการสร้างความคุ้นเคย และกรอกติการ่วมกันโดยจะมีการพูดถึง เป้าหมายขององค์การ พันธกิจ วิสัยทัศน์ ประวัติ องค์การ โดยเราฟังแล้วรู้สึกอย่างไร? เช่น ฮึกเหิม หรือ อยากเปลี่ยนองค์กรเลย เป็นต้น


สรุปแล้วทุกอย่างผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารองค์การ สรุปภาพกว้าง ในการสื่อสารดังนี้
๑. การสื่อสารระหว่างบุคคล
๒. เป้าหมายการติดต่อสื่อสาร
๓. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง การรับรู้ความสนใจของผู้รับสาร

องค์การมี
o คน
o วัตถุประสงค์ เพื่อ แก้ปัญหา หรือคำแนะนำ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ลักษณะการสื่อสารแตกต่างกัน
o การรับรู้และความสนใจ >>> ต้องดูกลุ่มเป้าหมาย (เช่น เพศ,การศึกษา,บริบทของเขา เช่น สถานที่ โดยจะมีผล ต่อ การยอมรับ ที่อยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมสังคมไทย หรือ สังคมต่างชาติ เป็นต้น..


นั่งสรุปใต้ต้นหูกวางข้างตึกอธิการม.ราม ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น