วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธการสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กร (ครั้งที่๑)

สรุปคำบรรยาย วิชา กลยุทธการสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กร (ครั้งที่๑)

เรียบเรียงจากคำสอน ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
โดย อาณาจักร โกวิทย์

ขอบข่ายการเรียนวิชานี้

มีผู้สอน ๒ ท่าน คือ

๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์

โดยคะแนนแบ่งเป็น อาจารย์ ท่านละ ๕๐ คะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน

โดยแบ่งเป็นคะแนนสอบ ๘๐ คะแนน โดยข้อสอบมี ๔ ข้อ แบ่งกันออกท่านละ ๒ ข้อ

โดยมีคะแนนเก็บ ๒๐ คะแนน แบ่งเป็น
๑. ผศ. ดร.บุญชาล ทองประยูร คะแนนจากตรวจสมุด ๑๐ คะแนน
๒. ดร.ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์ ??

ท่านละ ๑ คะแนน
ระดับเกรด ๘๐ A

วิชา Organizational communication

วิชานี้เป็นสาขาหนึ่งขอการสื่อสาร การสื่อสารจะแบ่งออกเป็น บริบท Context ไม่เกิดขึ้นในสุญญากาศ หมายความว่า เกิดขึ้นในบริบทหนึ่งของสังคม เช่น
- การสื่อสารกลุ่มย่อย , ประชุม -- เป็นบริบท
- การสื่อสารระหว่างบุคคล หรือ ๒> ก็เป็นบริบท
- กระบวนการคิด(การสื่อสารภายใน) ก็เป็นบริบทหนึ่ง เป็นต้น
ดังนั้นการสื่อสาร เป็นการสื่อสารบริบทหนึ่งในสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร

โดยจะแตกต่างกันโดยพฤติกรรมการสื่อสาร/ปัจจัยที่เกิดขึ้นทุกบริบทมีผลต่อการสื่อสาร เพราะฉะนั้นการสื่อสารแต่ละอย่างจึ่งต้องมีความแตกต่างกัน

Organizational communication เป็นสาขาหนึ่งเชิงประยุกต์ ทางปฏิบัติ และเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญ
ศึกษาในลักษณะเชิงประยุกต์ (theories in communication) จะต้องใช้ทฤษฎีเกิดขึ้นในบริบทนั้นๆมาประยุกต์ใช้ เช่น
- ทฤษฎีองค์กร
- การสื่อสารระหว่างบุคคล > ใช้หลักจิตวิทยา หรือสังคมวิทยา
- การสื่อสารระหว่างบุคคล> ใช้หลักจิตวิทยา
- ทฤษฎีการสื่อสารสาธารณะ
- Mass communication เกิดจาก วิชาจิตวิทยา > ความมีตัวตน และนักสังคมวิทยาเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้นับร้อยเล่ม
หลักปรัชญา ใช้ทฤษฎีเชิงประยุกต์ไป

สรุป ความหมายกว้างๆของ Organizational communication
๑. ต้องเกิดขึ้นในบริบท
๒. เกิดจากการใช้ศาสตร์อื่นเข้ามาประยุกต์ การศึกษาต้องศึกษาบริบทอื่นมาประยุกต์ด้วย
การเข้าใจวิชานี้มี ๒ คำ
- Organizational
- communication
- คำสองคำไม่ได้รวมกันโดยบังเอิญ มันเกิดขึ้นอยู่แล้ว เราศึกษาได้เราต้องศึกษาปัจจัย ๒ คำนี้เป็นคำเดียวกัน โดย Organizational เป็นคำขยายของ communication


อธิบายความหมาย

- Organizational ในศาสตร์ต่างเรียน เช่น บริหารธุรกิจ,รัฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเรียนในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป จุดเน้นแตกต่างกันไป

Organizational คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญ “สังคมของเรานั้นคือสังคมองค์กร” “our society is an Organizational society”

สรุป คือ
๑. มนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย มีความสัมพันธ์และพึ่งพาองค์การ เช่น จะต้องมีเสื้อผ้าใส่ ต้องมีโรงงานผลิต มีโรงเรียนไว้สอนหนังสือฯลฯ)
๒. องค์กรเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์(need)
๓. องค์การเป็นกลไก ของสังคม จะพัฒนาหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์การ


มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม (social animal)

มนุษย์เราอ่อนแอในช่วงวิวัฒนาการ เราสูญเสียอะไรบางอย่าง (เช่นสูญเสียความแข็งแกร่งทางกายภาพ นอกจากนั้นยังสูญเสียความสามารถประสาทสัมผัส เช่นสายตา กลิ่น เป็นต้น) แต่สิ่งที่มนุษย์พัฒนาการมากกว่าสัตว์ คือ ความคิด(ปัญญา) การพัฒนาการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์สูญเสียอีกด้านหนึ่ง แต่พัฒนาความคิด ถ้าจะทำให้มนุษย์พัฒนาว่าอยู่คนเดียวตายแน่ ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน สัตว์ มนุษย์ มีความผูกผันทางจิตใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนจากการพัฒนา ครอบครัว หมู่บ้าน สังคม ระดับประเทศ โดยช่วยกันต่อสู้ หาอาหาร ฯลฯ มีการแบ่งบทบาท พัฒนาสังคมที่ซับซ้อน ประกอบความก้าวหน้า ประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอด สังคมพัฒนาเรื่อยๆ+ ความต้องการของมนุษย์ ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่มนุษย์ต้องการสูงสุด คือ ต้องการเอาชนะธรรมชาติ เช่น มนุษย์บินไม่ได้ ใช้เครื่องบิน หายใจในน้ำไม่ได้ทำเครื่องดำน้ำ
มนุษย์มีสัญชาตญาณการทำลายอยู่ด้วยเช่นกันนอกนั้น เวลาที่อยู่ด้วยกัน + ความเหนือกว่าคนอื่น เริ่มจากอิจฉา จนพัฒนาเป็นสงคราม
คำถาม ถ้าปัจจุบันไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล องค์การต่างๆ ได้ไหม..คำคอบคือไม่ได้เพราะเราย้อนกลับไปอย่างเดิมไม่ได้
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีองค์การพัฒนาไม่หยุดนิ่ง แต่มองแง่ดี คือการพัฒนา คือทำให้ดีขึ้น ทั้งร่างกาย และจิตใจ (โดยใครที่สนใจให้ศึกษาวิชาสังคมวิทยาเพิ่มเติม)

ความหมายของ Organization

นิยาม ของมันคือ นิยามคือเราเปิดหนังสือ ๑๐๐ เล่มอ่านแต่จะมีความเหมือนหรือความคล้ายกัน ไม่มีความถูกผิด แต่จะมีแก่นกลางของนิยาม
องค์การ (Organization)

๑. กลุ่มทางสังคม ที่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์ มีบทบาทและประสานงานเพื่อนำองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันและทำนองเดียวกลับกัน การกระทำองค์การมีผลไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อสมาชิกขององค์การเองและสังคมโดยรวม (คือการกระทำขององค์การมีอิทธิพลต่อสมาชิกองค์การเอง)

บทบาท เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ
ประสานงาน บอกถึง กฎเกณฑ์สิ่งที่รับผิดชอบอะไร
องค์การไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เป้าหมาย + นโยบาย (บอกแนวทางและบทบาท) โดยทุกองกรมีวัตถุประสงค์ เพื่อ บรรลุเป้าหมาย
จากนิยามแล้วมาดูแนวคิดที่ฝั่งอยู่
เช่น ความสัมพันธ์ บทบาท ประสานงาน ฯลฯ
นักวิชาการส่วนใหญ่เป็นอะไรบางเน้นอะไรบ้างจะเรียกว่า ลักษณะขององค์การ


ลักษณะขององค์การ

๑. ต้องเป็นสมาชิก คือ เป็นมนุษย์(เท่านั้น) โดยมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งบทบาทเชิงการจัดการและบริหารได้ เพื่อนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ถ้าพิจารณาด้านการสื่อสาร องค์กรเป็นบริบท ลักษณะของกลุ่มจะปรากฏในองค์การ
๒. มีความสัมพันธ์ คือ เกิดจาการสื่อสาร (ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่)
๓. มีบทบาท คือมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ บอกว่าอะไรควรทำ/ไม่ควรทำ > องค์กรซับซ้อน > ตำแหน่ง
๔. ต้องมีการประสานงานกัน คือ มีกฎ ระเบียบ นโยบาย
๕. มีเป้าหมายร่วมกัน คือ วัตถุประสงค์,พันธกิจฯลฯ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างละเอียดหรือคร่าวๆ
๖. เวลา เป็นปัจจัยเรื่องเวลา เป็นระยะยาว
๗. Proximics คือ มีระยะทาง/เทคโนโลยี คือ โบราณมาทำงานรวมกันที่ใดที่หนึ่ง(สถานที่เดียวกัน สมัยปัจจุบัน ระยะทางถูกข้ามข้อจำกัด

ด้วยเทคโนโลยี ทางวิชาการ social unit ไม่หมายถึงแต่องค์กร ยังรวมถึงครอบคัว ความผูกพันทางสายเลือด
การนิยามมุมมองกว้างก่อน แล้วค่อยๆถึงองค์ประกอบลักษณะอื่นๆ ออกมาให้เห้นความเหมือนความแตกต่าง
การสื่อสาร (communication)
นิยาม Symbolic behavior
ความสามารถในการคิด >สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาอีกอย่าง คือ สัญลักษณ์ ตัวแทนความหมาย เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความคิด มนุษย์มีการแปลความหมาย ตีความ ทำให้เกิดภาพในสมองต่างๆ
สัญลักษณ์เป็นตัวแทนของนามธรรม+รูปธรรม

โดยสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดการใช้สัญลักษณ์
การสื่อสารของมนุษย์ คือ การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อ(ไม่ใช่ส่ง = ใส่ความถอดหัวไปให้อีกคน) ความหมายถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก และตีความตามกรอบของวัฒนธรรม (ตย.ปากา ภาษาอังกฤษเรียก Pen)
สัญลักษณ์ คือตัวแทน วัตถุ ความคิด ความรู้สึก หรือลักษณะอื่นๆ ที่มนาย์สามารถตีความหมายได้

ลักษณะของการสื่อสาร

๑. เกี่ยวข้องกับความหมาย (meaning) โดยเกิดจากกระบวนการความคิด
๒. การสื่อสารไม่เกิดในสูญกาศต้องเกิดในบริบทใดบริบทหนึ่ง (คือ ต้องเอาบริบทมาพูดด้วย)
๓. การสื่อสารต้องมีหน้าที่ รวมถึงภาพลักษณ์ ทัศนะคติ ความเชื่อ คือ ทุกอย่างต้องมีหน้าที่ โดยหน้าที่จะแบ่งโดยบริบท คือ
a. ก่อให้เกิดความคิด
b. ช่วยให้ปรับตัว
c. สร้างความสัมพันธ์
๔. มนุษย์คนเราต้องมีการสื่อสารหลีกเลี่ยงไม่ได้ (one cannot not communication)
๕. ประสบการณ์ตามกรอบของวัฒนธรรม การสื่อสาหลัก คือ ความจำ เช่น เตารีดถ้าร้อนเราก็ไม่อยากจับอีก)
๖. วัฒนธรรม (Edword T. Hall) “การสื่อสารก็คือวัฒนธรรม วัฒนธรรมก็คือการสื่อสาร”

สรุป นิยามการสื่อสารองค์การ (organization communication)

“พฤติกรรมการใช้สัญลักษณ์ของสมาชิกในองค์การ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ประสานงานเพื่อให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมาย”
ในนิยามนี้มี “พฤติกรรม” คืออะไร
โดยพฤติกรรม แบ่งเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นและพฤติกรรมที่มองไม่เห็น และมีสาเหตุที่ระบุได้ และในองค์การมีพฤติกรรมซึ่งลักษณะเฉพาะ หรือมีสาเหตุที่ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่นความขัดแย้ง / การตัดสิ้นใจ / ผู้นำ ซึ่งพฤติกรรมการสื่อสารก็จะเข้าไปเกี่ยวข้องทุกระดับ หรืออาจเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม พฤติกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร แต่มีเงื่อนไขเงื่อนไขหนึ่ง ต้องมีเจตนา + ความตระหนัก = ผู้ส่งสารต้องรู้สึกตัว

คำถามทบทวนความจำ ???


/////////////

คราวหน้าผมจะสรุปทฤษฎีต่างๆนำมาลงครับ..

คืนวันหลังสอบ..สรุปได้แค่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น